Page 1 of 1

ทีดีอาร์ไอแนะออกกฎหมายลูก

Posted: 25 Mar 2015, 08:52
by brid.ladawan
ทีดีอาร์ไอแนะออกกฎหมายลูก

ป้องกันเอกชนควบรวมกิจการขายของเจ้าเดียวผูกขาดตลาด หวั่นส่งผลกระทบชาวบ้าน

นางเดือนเด่น นิคมบริรักษ์ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยถึง ร่างแนวปฏิบัติการรวมธุรกิจตามมาตรา26แห่งพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า2542ว่า การควบรวมธุรกิจในตลาดที่มีผู้ประกอบการน้อยราย อาจนำไปสู่การผูกขาด หรือมีแนวโน้มของการลดการแข่งขันได้ จึงต้องมีบทบัญญัติและหลักการปฏิบัติ เพื่อป้องกันการรวมธุรกิจที่อาจนำไปสู่การใช้อำนาจเหนือตลาดและใช้อำนาจใน ลักษณะที่ก่อให้เกิดการจำกัดการแข่งขัน ซึ่งการใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคได้

ทั้งนี้แม้พ.ร.บ.แข่งขันทางการค้า2542ได้กำหนดให้มีบทบัญญัติกฎหมายลูก หรือกฎหมายลำดับรองในมาตรา26ซึ่งเกี่ยวข้องกับแนวปฏิบัติการรวมธุรกิจแต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่ได้ออกบทบัญญัติดังกล่าวมาบังคับใช้ ทำให้การควบรวมกิจการขนาดใหญ่เกิดคำถามขึ้นในสังคมว่า อาจทำให้เกิดอำนาจเหนือตลาดจนกระทบกับประชาชนหรือไม่ ซึ่งการออกกฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องขึ้นมา จะเป็นเครื่องมือที่คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าสามารถนำไปใช้พิจารณาประกอบการอนุญาตการควบรวมกิจการต่างๆ โดยเฉพาะกิจการขนาดใหญ่จึงมีความจำเป็น

ทีดีอาร์ไอ ได้เสนอร่างแนวปฏิบัติการรวมธุรกิจให้กับคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้ พิจารณานำไปใช้ควบคุมการควบรวมกิจการ คือ เกณฑ์การขออนุญาต โดยกิจการที่เข้าข่ายต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการฯ ก่อนการควบรวมกิจการ คือ การรวมธุรกิจการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่25%ขึ้นไปหรือกรณีที่ซื้อหุ้นบริษัทที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ หรือเป็นบริษัทจำกัดให้ใช้เกณฑ์การซื้อหุ้นตั้งแต่50%ขึ้นไปต้องแจ้งต่อคณะกรรมการ

ขณะที่การรวมธุรกิจของบริษัทแม่ที่ส่งผลให้บริษัทในเครือที่เป็นบริษัทลูกควบรวมกันโดยอัตโนมัติ ซึ่งการควบรวมกิจการด้วยวิธีการต่างๆส่งผลให้ส่วนแบ่งทางการตลาดคิดเป็น30%ขึ้นไปและมียอดขายหรือรายได้ในปีที่ผ่านมาตั้งแต่2,000ล้านบาทต่อปีขึ้นไป ในตลาดสินค้าหรือบริการใดบริการหนึ่ง

ส่วนการรวมกิจการที่ไม่ต้องขออนุญาตต่อคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า ได้แก่ การรวมธุรกิจระหว่างธุรกิจที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันทั้งแนวนอนและแนวตั้งและไม่เกี่ยวข้องกันทั้งทางตรงและทางอ้อม การรวมธุรกิจระหว่างบริษัทในกลุ่มเดียวกัน การรวมธุรกิจแบบแนวดิ่ง กรณีที่ผู้ถูกรวมธุรกิจมีส่วนแบ่งทางตลาดไม่เกิน10% และมีรายได้และยอดขายที่ผ่านมาไม่เกิน1,000ล้านบาทต่อปี และการรวมธุรกิจที่มีหน่วยงานกำกับดูแลเฉพาะอยู่แล้ว เช่น กิจการที่อยู่ในการดูแลของคณะกรรมการประกันภัย (คปภ.) หรือคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ไม่ต้องขออนุญาตการควบรวมจากคณะกรรมการแข่งขันทางการค้าเนื่องจากมีกฎหมาย และหน่วยงานดูแลอยู่แล้วผู้ประกอบการเพียงแต่แจ้งให้คณะกรรมการทราบตามขั้น ตอนเท่านั้น

ขณะที่หลักเกณฑ์พิจารณาขอบเขตของตลาด คณะกรรมการฯ ต้องพิจารณาทั้งจากส่วนของอุปสงค์และอุปทาน พร้อมกับพิจารณาผลกระทบต่อการแข่งขัน ทั้งโครงสร้างตลาดในปัจจุบัน โครงสร้างตลาดที่อาจเกิดขึ้นหลังการรวมธุรกิจ และโอกาสที่จะเกิดผลกระทบทางลบต่อการแข่งขัน เช่น โอกาสในการฮั้วกันของธุรกิจ หรือโอกาสที่บริษัทที่ถูกควบรวมจะลดการแข่งขันในตลาด

สุด ท้ายต้องพิจารณาถึงความจำเป็น และผลกระทบต่อเศรษฐกิจและผู้บริโภค เช่น การพิจารณาว่ากิจการที่จะควบรวมกันมีความจำเป็นในการเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิต หรือเพิ่มความสามารถการแข่งขันระยะยาวได้หรือไม่ ขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาว่า การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันนั้นสามารถสร้างประโยชน์ต่อผู้ บริโภค เช่น คุณภาพสินค้าและบริการที่ดีขึ้น หรือทำให้ราคาลดลงหรือไม่


ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 25 มีนาคม 2558