Page 1 of 1

4 เซียนไอที การันตีไทยเด่นอุตฯ ไอทีเออีซี

Posted: 06 Apr 2013, 11:42
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


4 เซียนไอที การันตีไทยเด่นอุตฯ ไอทีเออีซี
« on: September 12, 2012, 11:00:54 am »

4 เซียนไอที การันตีไทยเด่นอุตฯ ไอทีเออีซี

โดย : วริยา คำชนะ


โค้งสุดท้ายก่อนเผาจริง "เออีซี" ใกล้เข้ามาทุกขณะ ทว่า “อุตฯซอฟต์แวร์ไทยมีจุดยืนที่แข็งแกร่งมากน้อยแค่ไหนหรืออย่างไร” ยังไม่มีใครตอบได้ชัดเจน

กระนั้นดูเหมือนว่ายังพอมีที่ทางให้ยืนอยู่บ้าง การันตีด้วยเสียงวิพากษ์ของ 4 เซียนแห่งวงการไอที “นายธนชาติ นุ่มนนท์” ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) “นายดนุพล สยามวาลา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) บริษัท ไอซีอี โซลูชั่น “นางการดี เลียวไพโรจน์” อาจารย์ประจำคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ “นายฟูเกียรติ จุลนวล” ที่ปรึกษาทางเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด

ยอมรับข้อด้อยตัวเอง

นายธนชาติ กล่าวว่า ไทยมีจุดแข็งทั้งด้านภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และความเข้มแข็งของผู้ประกอบการภาคเอกชน แต่บุคลากรยังเป็นจุดอ่อนสำคัญ แต่ละปีผลิตหลัก 2-3 หมื่นคน แต่ที่มีคุณภาพ เข้าสู่ตลาดได้จริงยังมีจำนวนน้อยมาก เทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนด้วยกันต้องยอมรับว่าด้อยกว่าสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือแม้แต่เวียดนาม

“ถ้าไม่แก้ไขหรือยังประมาทอยู่เมื่อเปิดเสรีอาเซียนเราต้องเหนื่อยแน่ๆ ทางแก้ผมว่าต้องยอมรับว่าตัวเองมีจุดอ่อนอย่างไร และหันมาพูดความจริงต่อกัน ไม่ใช่ฟังแต่คำพูดหวานๆ หรูๆ ซึ่งถ้ายอมรับและพัฒนาตรงส่วนนั้นๆ ได้ เราจะไปต่อได้ดี”

ปัจจุบันความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมเทคโนโลยีไทยถูกจัดอันดับไว้ที่ 50 ของโลก ทว่าความแข็งแกร่งภาคเอกชนนั้นไม่ได้เป็นรองใคร ล่าสุดมีบริษัทผ่านมาตรฐานซีเอ็มเอ็มไอเป็นอันดับที่ 1 อาเซียน ที่ 6 ของเอเชีย และที่ 15 ของโลก แม้ไม่ใช่ประเทศด้านเทคโนโลยีแต่มีศักยภาพ และโอกาสแจ้งเกิดได้ เพราะความต้องการในประเทศรวมถึงของภูมิภาคมีจำนวนมากพอ

มีวัตถุดิบ ขาดคนปรุง

อย่างไรก็ตาม เมกะเทรนด์ที่สร้างผลกระทบต่อตลาดปัจจุบัน ซึ่งควรตามติดให้ทันคือเทคโนโลยีโมบาย คลาวด์ คอมพิวติง โซเชียล เน็ตเวิร์ค และดีไวซ์ต่างๆ ที่ฉลาดมากขึ้น ขณะที่จุดอ่อนอีกประเด็นที่ต้องหันกลับมามอง คือ งานวิจัยในประเทศไทยมีอยู่จำนวนมากแต่การลงทุนวิจัยและพัฒนา รวมถึงนำงานนั้นๆ ไปต่อยอดยังมีอยู่น้อยมาก

เขาระบุด้วยว่า เมื่อเปิดเสรีอาเซียนอย่าพยายามมุ่งประเด็นไปที่เปิดแล้วประเทศจะเสียเปรียบการแข่งขัน แต่ควรมองเป็นความร่วมมือที่แต่ละประเทศต้องหาจุดยืนร่วมกัน เพื่อเข้าแข่งขันรูปแบบของภูมิภาค เปิดตลาดสู่เวทีโลก

ด้านนายดนุพลวิพากษ์ว่า ไทยพร้อมหรือไม่เมื่อเปิดเสรีอาเซียนนั้นตอบยาก ขณะนี้ อยู่ระหว่างกลางๆ ยังไม่มีใครฟันธงได้ หากพูดถึงความสามารถของผู้ประกอบการบอกได้ว่ามีศักยภาพสูงมากไม่ได้ด้อยไปกว่าใคร โดยเฉพาะซอฟต์แวร์กลุ่มท่องเที่ยว โรงพยาบาล การแพทย์ และการขนส่ง

“ประเด็นคือแม้เราจะแข็งแกร่งอยู่แล้วแต่ไม่สามารถรวมกัน เพื่อทำให้แข็งแกร่งมากกว่าเดิมได้ ทั้งๆ ที่เออีซีเป็นเรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มและร่วมมือกัน ทุกวันนี้ ทุกคนยังกั๊กกันหมด ทุกคนต่างจ้องจะแข่งขันเพื่อชนะคนอื่น ทั้งยังขาดการทำงานเป็นทีมเวิร์ค คนเก่งๆ มักชอบเป็นวันแมนโชว์”

รัฐขาดทิศทางชัดเจน

เขากล่าวต่อว่า โครงสร้างตลาดไทยไม่เหมาะกับจุดยืนแบบรีซอร์ส เบส เพราะขาดแคลนด้านบุคลากร ทุกวันนี้ ผู้ประกอบการมักเน้นแต่บริการติดตั้งระบบ (เอสไอ) ขาดการผลิตสินค้าใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของตลาด รับแต่เทคโนโลยีของเมืองนอกมาขาย โดยที่เหมาะควรปรับทิศทางไปเป็นโปรดักท์ เบส หรืออินโนเวชั่น เบส ที่ผลิตสินค้าป้อนสู่ตลาดจะดีกว่า

อย่างไรก็ตาม ไทยมีวัตถุดิบที่ดีแต่คนที่ปรุงยังไม่ดี งานเชิงนโยบายและทิศทางของฝั่งภาครัฐยังไม่ชัดเจน ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมไอทียังไม่เคยเป็นเป้าหมายหลักของรัฐบาลใดๆ มาก่อนเลย

“ไม่มีใครเคยมาบอกว่าควรไดร์ฟตลาดไปทางไหน ไอทีมีหน้าที่เพียงแค่ช่วยสนับสนุนระบบงาน เมื่อเออีซีเข้ามาต่างจึงไม่ทราบว่าจะเริ่มออกตัวไปทางไหน ทำอย่างไรถึงจะไปเปิดตัวที่ตลาดต่างประเทศได้”

นายดนุพล กล่าวต่อว่า อีกประเด็นที่ต้องหันมาพิจารณาอย่างจริงจัง คือ ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมาเกิดปัญหาผู้ประกอบการหลายรายผลิตสินค้าออกมาได้ดีแต่ยอดขายไม่วิ่ง ถ้าแก้ไขไม่ได้ไม่มีทางที่อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยจะโตขึ้น ทั้งยังมีผลกระทบต่อภาพรวม

“ต้องยอมรับว่าไทยไม่ใช่ประเทศที่ปรับตัวเร็ว หากคาดหวังให้เปลี่ยนแปลงภายใน 1-2 ปี หรือสั่งให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาแก้ปัญหาจุดนั้นจุดนี้นั้นเป็นไปได้ยาก สำคัญจึงต้องร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ การแข่งขันควรมองแบบข้ามชอตไปถึงเวทีระดับโลก และมีความเข้าใจในผู้เล่นนั้นๆ ให้มากพอ มิเช่นนั้น เหมือนฆ่าตัวตาย”

หาจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง

ขณะที่ นางการดี แสดงความเห็นว่า ประเด็นสำคัญไม่ใช่พร้อมหรือไม่ แต่เป็นเรื่องของการปรับตัวที่อาจไม่ทันกาล ขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนที่มีอยู่กระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่ม ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วต้องทำกันเป็นระบบ การผลักดันให้ซอฟต์แวร์ไทยแจ้งเกิดพูดกันมานาน แต่ยังไม่สามารถทำให้เห็นเป็นรูปธรรม

เธอประเมินว่า ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพ มีความสามารถไม่น้อยหน้าใคร แต่เป้าหมายที่กำหนดไว้เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผลที่ออกมาไม่เร็วอย่างที่ควรจะเป็น ประกอบกับพบปัญหาที่บางครั้งมีความคิดสร้างสรรค์แต่ขาดการทำงานเป็นระบบ ที่ทำงานเป็นระบบบางครั้งก็ไม่มีความคิดสร้างสรรค์

นายฟูเกียรติ กล่าวเสริมว่า จากประสบการณ์ที่พบฝั่งของผู้ประกอบการมีบุคลากร เครื่องมือ และประสบการณ์ที่ค่อนข้างพร้อม คำถามที่มักเกิดขึ้น คือ ควรเดินไปทางไหนดี เนื่องจากพวกเขาไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยง และต้องการทราบว่าทำไปแล้วจะเป็นอย่างไร

“ไอทีมีส่วนสำคัญช่วยให้ธุรกิจเดินไปข้างหน้า การเริ่มต้นไม่จำเป็นต้องวางธงให้เป็นแกนหลัก เพราะอาจมีปัญหาขัดแย้งการบริหารจัดการภายใน ที่เหมาะควรวางให้เป็นตัวช่วยเสริม มอบหมายให้ซีไอโอของบริษัทมีส่วนร่วมการตัดสินใจ ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของการผลิตหรือการตลาดเท่านั้น”

เขาแนะอีกว่า บริษัทต่างประเทศที่ประสบความสำเร็จ ได้ผ่านความล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง ฉะนั้นไทยเองต้องลุยต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จ อย่าเพิ่งท้อถอยไปก่อน เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วทุกวันนี้ปรับแผนกันทุกเดือน ต่อไปอาจต้องเปลี่ยนกันทุกวัน



Tags : เออีซี