Page 1 of 1

ไฮโดรโปนิกส์ อธีน่าฟาร์ม” ความสำเร็จจากคอร์สเรียน ที่กลายมาเ

Posted: 28 Mar 2015, 10:21
by brid.ladawan
"ไฮโดรโปนิกส์ อธีน่าฟาร์ม” ความสำเร็จจากคอร์สเรียน ที่กลายมาเป็นธุรกิจ


ในช่วงปี 2015 นี้ กระแสความนิยมในการบริโภคอาหารประเภทพืชผัก-ผลไม้ ก็ยังคงแรงดีไม่มีตก เนื่องมาจากเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพที่กำลังฮอตโดนใจหนุ่มสาวยุคใหม่ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุที่เริ่มหันกลับมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยสภาวะโรคภัยไข้เจ็บที่มีมากมายในปัจจุบัน จึงทำให้ธุรกิจด้านการเกษตรเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน และหนึ่งในธุรกิจที่น่าจับตามอง ณ เวลานี้ คงต้องพูดถึง “กาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 19:30:00 น.
รปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์”/โดย : มติชนอคาเดมี


ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีสำหรับหลักสูตร “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์เบื้องต้น” ของ อาจารย์ปกรณ์ พิสุทธิ์ชาน (อาจารย์เอก) วิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์แถวหน้าของเมืองไทย และเป็นนักธุรกิจคนเก่งที่ประสบความสำเร็จ ในกิจการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ (ผักไร้ดิน) ภายใต้ชื่อ ไฮโดร ฮ็อบบี้ ที่ได้มาร่วมจัดอบรมกับมติชนอคาเดมี จนได้รับกระแสตอบกลับอย่างดีจากผู้เรียนหลากหลายรุ่น จนสามารถสร้างเครือข่าย และสร้างธุรกิจให้กับลูกศิษย์หลายคนประสบความสำเร็จมาได้จนถึงปัจจุบันนี้


เช่นเดียวกันกับ “Atena Farm : อธีน่าฟาร์ม” ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากคอร์สเรียนนี้เช่นกัน


“Atena Farm : อธีน่าฟาร์ม” หนึ่งในฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์น้องใหม่ย่านบางขุนนนท์ ของ พล.ต.ท. ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี (อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร.) และ คุณวรอนงค์ เทพชาตรี (บุตรสาว) โดยเจ้าของฟาร์มเป็นสองผู้เรียนจากคอร์ส “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์” ของ อาจารย์ปกรณ์ ที่มติชนอคาเดมี ซึ่งหลังจากเรียนจบคอร์สไป ทั้งสองท่านก็เริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับการทำฟาร์มอย่างจริงจัง พร้อมกับได้ที่ปรึกษาอย่าง อาจารย์ปกรณ์ เข้ามาช่วยให้คำชี้แนะตั้งแต่กระบวนการสร้างโรงเรือน และการทำธุรกิจตั้งแต่แรกเริ่ม จึงทำให้เกิดฟาร์มแห่งนี้ขึ้น และถือได้ว่าเป็นฟาร์มน้องใหม่ไฟแรงย่านบางขุนนนท์ที่น่าจับตามองในขณะนี้เลยทีเดียว




พล.ต.ท. ถาวรศักดิ์ เทพชาตรี (อดีต ผู้ช่วย ผบ.ตร.) ปัจจุบัน เกษียณอายุราชการมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2551 กล่าวว่า
“แรกเริ่มเดิมทีเดียว ตอนก่อนเกษียณอายุ ผมตั้งใจว่าจะไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย ซึ่งระหว่างนี้เองก็ต้องไปเรียนปริญญาเอกเพิ่ม จนถึงช่วงอายุ 57-58 ปี ก็เรียนจบพอดี หลังจากเกษียณมาก็ได้เข้าสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สอนอยู่ได้ประมาณ 3 ปี ก็รู้สึกว่าไม่ใช่งานที่ตัวเองชอบเท่าใดนัก และอยากลองทำอย่างอื่นมากกว่า
“จึงออกมาพัก คิดทบทวนตัวเองอยู่ 1 ปี คุณวรอนงค์ เทพชาตรี (บุตรสาว) ก็ชวนไปเรียนคอร์ส “การปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์” ที่ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (MATICHON Academy) โดยส่วนตัวเป็นคนชอบทานผักสลัดเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว จึงสนใจและลองสมัครเข้ามาอบรมดู ทำให้พบว่า การปลูกพืชระบบไฮโดรโปนิกส์นั้น มันมีปัจจัยหลายอย่างเหมือนกัน แต่ด้วยความชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว หลังจบคอร์สเรียนจึงตัดสินใจลงทุนทำฟาร์มผักไฮโดรโปนิกส์เลยในทันที โดยได้อาจารย์ปกรณ์ วิทยากรในคอร์สเรียนนี้ที่คอยเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการของฟาร์ม รวมไปถึงการทำการตลาด และการจัดจำหน่ายด้วย”



“ตอนแรกก่อนจะเปิดฟาร์ม ค่อนข้างกังวลมากอยู่เหมือนกัน เพราะพื้นฐานเราทำงานเกี่ยวกับราชการมาก่อน ทำให้กังวลเรื่องของการตลาด และการทำธุรกิจ จึงชวนอาจารย์ปกรณ์แวะมาดูสถานที่ พร้อมพูดคุยแนวทางการทำฟาร์ม พออาจารย์ปกรณ์เห็นพื้นที่ ก็แนะนำว่าทำได้เลย เพราะพื้นที่กว้างขวาง อากาศถ่ายเท มีแสงแดดเพียงพอ เหมาะสมในการทำฟาร์มผักแน่นอน ตนจึงตัดสินใจลองเริ่มลงทุนจาก 14 โต๊ะก่อน ใช้เงินทุนโดยประมาณ 500,000 บาท ไม่รวมกับการปรับพื้นที่ดิน และจิปาถะอื่นๆ ซึ่งจากการศึกษามาเรื่อยๆ ก็พบปัญหาเล็กน้อย เช่น พื้นที่ปลูกผักมีแสงแดดไม่เพียงพอ แต่ก็ได้อาจารย์ปกรณ์คอยแนะนำและชี้แนะแนวทางแก้ไขให้มาโดยตลอด ทำให้การทำฟาร์มของผมค่อนข้างราบรื่นและมีปัญหาน้อย ส่วนหนึ่งก็ต้องบอกว่า เราโชคดีที่ได้ที่ปรึกษาที่มีความรู้ และคอยช่วยเหลือเรามาโดยตลอด อย่างอาจารย์ปกรณ์”


บนพื้นที่ขนาดใหญ่ ภายในฟาร์มแห่งนี้เราจะพบกับพันธุ์ผักไฮโดรโปนิกส์ยอดนิยมหลากหลายสายพันธุ์ โดยภายในฟาร์มจะเน้นปลูกเพื่อจำหน่ายอยู่ 7 ชนิด ก็คือ กรีนโอ๊ค (green oak), เรดโอ๊ค (red oak), บัตเตอร์เฮด (butter head), บัตตาเวีย (batavia), เรดคอรัล (red coral), ฟิลเล่ซ์ไอส์เบิร์ก (frillice iceberg), กรีนคอส (green cos) ซึ่งผักเหล่านี้จะมีลูกค้าทั้งขาประจำและขาจรแวะเวียนมารับไปจำหน่ายต่ออีกทอดหนึ่ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ลูกค้าก็จะนำไปทำเป็นผักสลัด และมีบางส่วนนำไปจำหน่ายปลีกอีกทอดหนึ่ง ซึ่งจุดเด่นของผักที่ฟาร์มแห่งนี้ก็คือ ความสด-ใหม่-สะอาด และไม่นำผักที่ยังไม่พร้อมจำหน่ายมาขายให้กับลูกค้า ซึ่งตรงนี้เป็นเรื่องของจรรยาบรรณของทางฟาร์มที่มีให้กับลูกค้าทุกคน



คุณวรอนงค์ กล่าวว่า “สำหรับปัญหาหลักของเราในเวลานี้ ก็คือ ผักไม่เพียงพอต่อการจำหน่าย เพราะความต้องการของลูกค้ามีมาก ทำให้เราต้องเร่งปลูกผักให้ไวขึ้น จากเดิมที่เราจะเพาะต้นกล้าในทุกๆ 7 วัน ก็ต้องร่นเวลาลงมาให้ไวขึ้น เพื่อให้ทันกับความต้องการของลูกค้า โดยปกติเราจะขายผักได้วันหนึ่งเกือบๆ 10 กิโลกรัม แต่ถ้าเป็นวันศุกร์-เสาร์-อาทิตย์ ก็สามารถจำหน่ายได้ถึง 20 กิโลกรัม ถือว่าเป็นธุรกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้เป็นอย่างดีทีเดียว”


“ความประทับใจในคอร์สการเรียนการสอนของมติชนอคาเดมีนั้น ต้องบอกว่า หลักสูตรการเรียนการสอนของที่นี่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ และดีมากๆ วิทยากรก็ให้ความรู้แบบเต็มที่ไม่มีกั๊ก และยังมีชุดทดลองการปลูกพืชผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับผู้เรียนมาทดลองปลูกอีกด้วย ซึ่งจุดนี้เองถือเป็นการจุดประกายให้เราได้ลองเริ่มต้น พร้อมกับได้ลองทำจริง จนสามารถมองเห็นแนวทางในการประกอบธุรกิจในอนาคตได้ ซึ่งต้องขอบคุณอาจารย์ปกรณ์ ที่ช่วยจุดประกายแนวทางการทำธุรกิจมา ณ จุดนี้ด้วยค่ะ” คุณวรอนงค์ กล่าว



หลายคนเริ่มต้นการทำธุรกิจมาจาก “ความชอบ” บางคนก็เริ่มทำธุรกิจมาจาก “ความรัก” แต่แน่นอนว่าเป้าหมายปลายทางของทุกคนคือ ธุรกิจที่ทำสามารถเลี้ยงตัวเองได้ และมีกำไร ก็น่าจะถือได้ว่า คุณประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจขั้นต้นแล้ว



ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 26 มีนาคม 2558