Page 1 of 1

อย. แนะเลือกซื้อครีมฉลากภาษาไทย จากแหล่งเชื่อถือได้

Posted: 28 Mar 2015, 10:29
by brid.ladawan
อย. แนะเลือกซื้อครีมฉลากภาษาไทย จากแหล่งเชื่อถือได้


จากกรณีที่มีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ถึงการลักลอบผสมน้ำยาซักผ้าขาว และน้ำยาล้างห้องน้ำ ลงในครีมกิโล ทาง อย. ได้ติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมายังไม่มีการตรวจพบสารปนเปื้อนที่เป็น สารออกฤทธิ์จากน้ำยาซักผ้าขาว และน้ำยาล้างห้องน้ำ จากการทดสอบมีความเป็นไปได้น้อยที่จะนำ น้ำยาซักผ้าขาวมาต้มและกวนตามสูตรที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เพราะสารออกฤทธิ์จะไม่คงตัวเมื่อถูก ความร้อน แนะผู้บริโภคให้ซื้อเครื่องสำอางจากแหล่งที่เชื่อถือได้ มีฉลากภาษาไทยและเป็นเครื่องสำอาง ที่จดแจ้งแล้ว เพื่อจะได้ไม่เสี่ยงต่อการได้รับเครื่องสำอางที่อาจลักลอบใส่สารห้ามใช้ที่เป็นอันตราย



ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่า จากกรณีการเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ถึงการลักลอบผสมน้ำยาซักผ้าขาว และน้ำยาล้างห้องน้ำ ลงในผลิตภัณฑ์ครีมกิโล ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมาเป็นเวลา 1-2 ปี ที่ผ่านมา ทางสำนักงาน คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ติดตามเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องและยังไม่เคยตรวจพบ การผลิตด้วยส่วนผสมหรือวิธีแบบนี้ สารที่อ้างว่ามีการผสมในครีมกิโลที่ปรากฏในอินเทอร์เน็ต ได้แก่ น้ำยาซักผ้าขาว มีสารออกฤทธิ์ 2 ประเภท คือ โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ และไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ และ น้ำยาล้างห้องน้ำ มีสารออกฤทธิ์ คือ ไฮโดรคลอริค แอซิด เชื่อว่าสารเหล่านี้ไม่น่าจะใช้เป็นส่วนผสมในครีมได้


เนื่องจากเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง มีกลิ่นฉุน หากโดนผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง มีอาการแสบร้อน ผื่นแดงขึ้น กัดจนผิวหนังเป็นแผล และฤทธิ์ของเคมีไม่สามารถเข้ากับเนื้อครีมได้ ดังนั้น มีความเป็นไปได้น้อย ที่จะนำน้ำยาซักผ้าขาวมาต้มและกวนตามสูตรที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เพราะ โซเดียม ไฮโปคลอไรท์ และ ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ ไม่

คงตัวเมื่อถูกความร้อน แต่กรณีเครื่องสำอางที่มีสรรพคุณลักษณะคล้าย ๆ ลอกเซลล์ผิวหนังด้านบนออก


ส่วนใหญ่ จะใช้เป็นกรดผลไม้ เป็นสารที่อนุญาตให้ใส่ในเครื่องสำอางได้ แต่การใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรปรึกษาแพทย์ การโฆษณาอวดอ้างสรรพคุณว่าทำให้ผิวขาวใสด้วยการลอกผิวนั้น ความจริงแล้ว เม็ดสีจะอยู่ในผิวชั้นใน แม้ว่าจะลอกผิวชั้นบนออกไป อาจทำให้เห็นว่าสีผิวดูขาวขึ้น แต่ความจริงแล้ว เป็นเพียงเพราะเซลล์ผิวหนังชั้นบนถูกลอกออกไป แต่เมื่อเวลาผ่านไปสีผิวก็จะกลับมาเป็นเช่นเดิม จึงไม่ ควรหลงเชื่อโฆษณาที่อ้างว่าสามารถช่วยให้ผิวขาวขึ้น เพราะไม่มีผลิตภัณฑ์ใดที่จะทำให้ผิวขาวขึ้นได้อย่าง ถาวร


สำหรับการมีสีผิวตามธรรมชาตินั้น เม็ดสีเมลานินจะทำหน้าที่ดูดกลืนรังสี UV เอาไว้ไม่ให้ผ่านมา ทำอันตรายถึงผิวชั้นในและอวัยวะภายใน ทั้งยังช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนัง และป้องกันใยคอลลาเจนไม่ให้ ถูกทำลาย การทำให้ผิวขาวจะเป็นการกำจัดปริมาณเม็ดสี อันถือว่าเป็นเกราะคุ้มกันตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม อย. มีหน้าที่กำกับดูแลผลิตภัณฑ์เหล่านี้ด้วยการกำหนดให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าเครื่องสำอาง มาแจ้งแสดงสูตรส่วนประกอบทั้งหมดแก่ภาครัฐ และจะต้องผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางให้ตรงกับที่ จดแจ้ง


โดยผู้ประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับคุณภาพและมาตรฐานของเครื่องสำอางของตนเอง และถึงแม้ว่าจะจดแจ้งแล้ว หากตรวจพบมีการลักลอบใส่สารต้องห้าม จะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


รองเลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า การเลือกซื้อเครื่องสำอาง ควรเลือกซื้อจากแหล่งที่ เชื่อถือได้ เช่น จากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน จะได้ไม่เสี่ยงต่อการได้รับเครื่องสำอางที่อาจลักลอบ ใส่สารห้ามใช้หรือสารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เพราะหากมีปัญหาจากการใช้จะได้สามารถติดตาม หาผู้รับผิดชอบได้ ควรเลือกซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทยบอกรายละเอียดครบถ้วน มีชื่อที่ตั้งผู้ผลิต หรือผู้นำเข้าแสดงอยู่อย่างชัดเจน มีเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก ถึงแม้จะเป็นเครื่องสำอางที่นำเข้ามาจาก ต่างประเทศก็ต้องมีฉลากภาษาไทย และสามารถตรวจสอบเลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลักของเครื่องสำอางได้


ทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th หรือที่ Oryor Smart Application ว่าตรงกับข้อมูลที่แสดง ที่ฉลากหรือไม่ ควรทดสอบการแพ้ก่อนใช้โดยทาที่ท้องแขน 24-48 ชั่วโมงก่อนใช้เครื่องสำอาง หากใช้แล้ว มีความผิดปกติต้องหยุดใช้ทันที แล้วนำผลิตภัณฑ์ไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาว่า อยากสวยต้องอดทนต่อการระคายเคืองต่าง ๆ นอกจากนี้ การซื้อสินค้าออนไลน์มีความเสี่ยงสูง ถ้าไม่มี ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ผลิต ผู้นำเข้า หรือฉลากไม่ครบถ้วน ไม่มีเลขที่ใบรับแจ้ง ก็ไม่ควรซื้อ


หากผู้บริโภคได้รับอันตรายจากการใช้เครื่องสำอางหรือต้องการแจ้งเบาะแสเครื่องสำอาง ผิดกฎหมาย สามารถแจ้งร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. 1556 หรือที่ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือตู้ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะดำเนินการปราบปราม และ ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้กระทำผิดต่อไป


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 25 มีนาคม 2558