Page 1 of 1

คุยกับ "บิ๊กไฟฟ้านครหลวง" สารพัดโปรเจ็กต์ จัดระเบียบเมือง ดึ

Posted: 30 Mar 2015, 17:05
by brid.ladawan
คุยกับ "บิ๊กไฟฟ้านครหลวง" สารพัดโปรเจ็กต์ จัดระเบียบเมือง ดึงสายไฟลงดิน

วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558 เวลา 09:42:20 น.

พื้นที่จ่ายไฟของ "กฟน.-การไฟฟ้านครหลวง" รับผิดชอบ 3 จังหวัด มีกรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ รวม 18 เขต 3 พันตร.กม. นอกจากดูแลผู้ใช้ไฟฟ้า 3 ล้านรายหนึ่งในงานใหญ่คือมิติความสวยงามของบ้านเมืองด้วย ล่าสุด "พิชัย สงวนไชย ไผ่วงศ์" รองผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง ให้สัมภาษณ์สารพัดโปรเจ็กต์

http://www.matichon.co.th/online/2015/0 ... 83330l.jpg

- นโยบายนำสายไฟฟ้าลงดิน

กฟน.มีบทบาท 2 อย่าง คือ 1.ดูแลจ่ายไฟฟ้ากับให้บริการประชาชน 2.นำสายไฟฟ้าลงดินโดยใช้เงินลงทุนจากผลประกอบการ ปีที่ผ่านมามีรายได้ 2 แสนกว่าล้านบาท กำไรสุทธิ 5% หรือ 1 หมื่นล้านบาท ประชาชนต้องการให้นำสายไฟลงดินให้เร็วและครบทุกพื้นที่

ปัญหาคือค่าใช้จ่าย หากนำลงดินทั้งหมด เคยทำตัวเลขเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ลงทุน 6 แสนล้านบาท แต่ปัจจุบันปริมาณสายไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ต้นทุนก็ต้องเพิ่มขึ้นด้วย คำนวณคร่าว ๆ อาจต้องใช้งบฯถึง 1 ล้านล้านบาท ไม่สามารถดำเนินการด้วยงบประมาณจากผลกำไรในแต่ละปีให้โครงการนี้แล้วเสร็จ ต้องได้รับไฟเขียวจากรัฐบาลหาแหล่งเงินกู้ปลอดดอกเบี้ยระยะยาว หรือวิธี PPP เปิดให้เอกชนร่วมลงทุน

การนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ข้อดีคือเมื่อฝนตกหรือเกิดพายุจะไม่มีผลกับสายไฟฟ้า ถึงไม่มีผลตอบแทนแง่กำไร แต่เป็นเรื่องความสวยงามของบ้านเมืองด้วย

ความคืบหน้าเขตจ่ายไฟ 3,000 ตร.กม. ปัจจุบันมีสัดส่วนไม่ถึง 10% ที่สายไฟลงดินส่วนใหญ่เป็นย่านธุรกิจ เช่น สีลม ปทุมวัน สาทร และรอบพระราชวังสวนจิตรลดา ตอนนี้มีบางพื้นที่กำลังทยอยทำ เช่น ถนนพหลโยธิน สุขุมวิท กฟน.ทำแผนส่งให้สภาพัฒน์ และมีมติคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแผนลงทุนแล้ว ที่เตรียมไว้ เช่น ถนนรัชดาภิเษก พระรามที่ 3 สุขุมวิท พหลโยธิน

- มาตรการรับมือช่วงฤดูร้อน

เตรียมไว้เรียบร้อยตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม เรียกว่า "แผนจ่ายไฟเพื่อรองรับภาระไฟฟ้าช่วงฤดูร้อน" โดยคณะกรรมการปรับปรุงความเชื่อถือได้ของระบบจ่ายไฟฟ้า ซึ่งผมเป็นประธาน ให้การไฟฟ้าเขตทั้ง 18 เขต ฝ่ายต่างๆ เช่น ฝ่ายบำรุงไฟฟ้าดูแลสายส่งสถานีย่อย สายส่งไฟฟ้า ฯลฯ ประสานงานกันใกล้ชิด และคาดการณ์ปริมาณไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในปีนี้

ก่อนหน้านี้มีคำถามเข้ามาว่า เมียนมาร์ปิดซ่อมท่อก๊าซตั้งแต่ 10-19 เมษายนนี้จะเป็นอย่างไร คำตอบคือไม่มีผลกระทบ เขาก็ปิดจ่ายก๊าซประจำปี ทำมากว่า 10 ปี กฟน. กระทรวงพลังงาน ปตท. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ หารือกันเตรียมรองรับการจ่ายก๊าซฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยทดแทนก๊าซจากเมียนมาร์ เตรียมใช้น้ำมันดีเซลเป็นแหล่งเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าในช่วงปิดซ่อม

- เป้าหมายรองรับการใช้ไฟ

เราประเมินจากสถิติย้อนหลังปี 2557 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าอยู่ที่ 8,688 เมกะวัตต์ ปีนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 3% เพราะเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประชาชนในกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ มักเดินทางออกต่างจังหวัด ส่วนโอกาสเกิดไฟดับ ศึกษาสถิติย้อนหลังในจุดที่ใช้ไฟฟ้าสูง ก็เข้าไปเพิ่มวงจรจ่ายไฟฟ้า เพิ่มขนาดของหม้อแปลง ติดตั้งหม้อแปลง ฯลฯ

- คอนโดฯเป็นปัญหาแย่งใช้ไฟ

เรามีสถิติใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละปี แต่ละพื้นที่ใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ สามารถเฝ้ามองย่อยลงไปจนถึงสายป้อนแต่ละพื้นที่ แต่ละอาคาร ก็พบว่าถึงคอนโดฯจะสร้างเสร็จเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่การจ่ายไฟฟ้ายังเพียงพอ เนื่องจากมีผู้อยู่อาศัยไม่มาก อาคารที่ใช้ไฟฟ้ามาก ๆ คือห้าง

- โครงการจัดระเบียบสายสื่อสาร

ปัญหาสายไฟห้อยระโยงระยาง บางจุดมีน้ำหนักมากจนดึงเสาไฟฟ้าเอียงก็มี คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่าเป็นสายไฟ แต่จริง ๆ เป็นสายสื่อสาร เช่น สายอินเทอร์เน็ต สายไฟเบอร์ออปติก ส่วนสายไฟอยู่ด้านบน ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในธุรกิจนี้รวมกว่า 20 ราย

เรื่องนี้เป็นปัญหามานาน ปัจจุบันการพาดสายสื่อสารกับเสาไฟฟ้านอกจากต้องขออนุญาต "กสทช.-สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ" ยังจะต้องได้รับอนุญาตจาก กฟน.ด้วย แต่บางรายลัดขั้นตอน ได้รับอนุญาตกับ กสทช.ก็พาดสายเลย

การจัดระเบียบสายสื่อสาร เราทำมาตลอดตั้งแต่ปี"48 สั่งให้ทั้ง 18 เขตดำเนินการ ล่าสุดเราแจ้งผู้ประกอบการทุกรายให้มาเข้าร่วมโครงการจัดระเบียบ ช่วยกันพันสายสื่อสารให้เรียบร้อย ที่กำลังดำเนินการคืือ ถนนพระราม 2 ซอย 69

แต่ภาพรวมคงต้องใช้เวลา ปีที่่ผ่านมาทำได้ 360 กิโลเมตร ปี"58 ตั้งเป้าไม่น้อยกว่าปีที่ผ่านมา แต่ถ้าไม่ได้ผล คงต้องแจ้งความฐานลักลอบพาดสาย


ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 30 มีนาคม 2558