รู้ไว้ใช่ว่า...บริโภค ผัก-ผลไม้ ทุกวันนี้ต้องระวัง

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

รู้ไว้ใช่ว่า...บริโภค ผัก-ผลไม้ ทุกวันนี้ต้องระวัง

Post by brid.ladawan »

รู้ไว้ใช่ว่า...บริโภค ผัก-ผลไม้ ทุกวันนี้ต้องระวัง


ผลไม้และผักสดที่วางจำหน่ายในตลาดสำหรับผู้บริโภค ส่วนใหญ่จะมีสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายชนิดตกค้างอยู่ สารจำพวกนี้จะเกาะอยู่กับผิวภายนอกของผักและผลไม้ แต่บางส่วนจะแทรกซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อของพืช ซึ่งผู้บริโภคไม่สามารถมองเห็นสารที่ติดมาด้วยตาเปล่า ดังนั้น การเลือกซื้อผักและผลไม้ควรเลือกซื้อที่ไม่สวยงามมากนัก /องอาจ ตัณฑวณิช (เรื่อง-ภาพ)



เพราะนั่นแสดงว่าเกษตรกรผู้ปลูกอาจใช้สารในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชในปริมาณไม่มากนักหรืออาจไม่ได้ใช้เลยก็ได้ในเรื่องนี้ไม่รู้จะโทษใครเพราะคนกินต้องการพืชผักสวยๆน่ากิน เลยทำให้เกษตรกรกระหน่ำยาฉีดเข้าไป ไม่ให้หนอนแมลงกิน เพราะจะเอาไปให้คนกิน หนอนแมลงนี่มันน่าจะเก่งกว่าเรา เพราะถ้าฉีดยามันจะรู้ มันเลยไม่กิน แต่ผักฉีดยาคนไม่ยักรู้ ก็เลยกินเข้าไป คนเรานี่โง่กว่าหนอน


เรื่องจริงจากในสวน


ผมเคยมีประสบการณ์เอง เพราะเคยไปอยู่ในพื้นที่ปลูกผักขายเป็นอาชีพ โดยเฉพาะผักคะน้า ซึ่งเป็นผักยอดนิยมของคนเมือง คะน้าหมูกรอบ คะน้าน้ำมันหอย คะน้าไฟแดง และอีกสารพัดคะน้า ไม่รู้จะกินผักอะไร เอาคะน้า ข้างๆ สวนผมก็ปลูกคะน้ากันเยอะแยะ


วันหนึ่งอยากกินคะน้าเพราะเห็นงามดี ดูเขียวกันไปทั้งไร่ ใบใหญ่ๆ สวยๆ ไม่มีรอยแมลงเจาะสักกะนิด เลยจะไปขอซื้อเขาสัก 2 กิโล มาทำกับข้าวกิน...เขินเขาอยู่เหมือนกัน เพราะเขาขายวันละหลายตัน เราไปซื้อ 2 กิโล เขาจะว่าไหมหนอ อารมณ์อยากกินก็ไปถามซื้อเขา เห็นเขียวพรึดข้างหน้าแล้วอยากกินมาก เจ้าของไร่ถามกลับว่า จะเอาไปกินเองหรือให้ลูกน้องกิน ก็ตอบว่าเอาไปกินเอง เห็นมันงามดี เขาชี้ไปปลายขนำเก็บคะน้าเขา แล้วบอกว่า ไปเอาแปลงหลังโน้นเถอะ ผมเดินเข้าไปดูคะน้าแปลงหลัง มันไม่สวยเหมือนแปลงหน้า ในใจคิดเคือง ทำไม ให้เรากินของไม่สวยว่ะ เขาเห็นทำหน้างงๆ ก็เลยหัวเราะ แล้วบอกว่า แปลงนั้นไม่ได้ฉีดยา แบ่งปลูกเอาไว้กินเอง อย่าเอาเลยแปลงหน้านี่นะ จะกินเท่าไหร่ก็ไปตัดเอา ไม่คิดตังค์หรอก อารมณ์ตอนนั้นคิดย้อนหลังไปว่า ตั้งแต่เกิดมาไม่รู้กินยากำจัดศัตรูพืชไปกี่ลิตรแล้วก็ไม่รู้ เวรกรรมจริงๆ


เรื่องจริงในตลาดสด


เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีข่าวน่าตกใจ เมื่อเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) โดย นายพชร แกล้วกล้า ผู้ประสานงานโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนด้านอาหาร ได้แถลงข่าวว่า ได้มีการสุ่มตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลผลิตทางการเกษตร ตั้งแต่ ปี 2555 ในปีนี้มีการสุ่มตรวจผัก ผลไม้ เพื่อเฝ้าระวัง จากแหล่งซื้อสองแหล่งหลักคือ ห้างค้าปลีก 4 ห้าง ซึ่งตรวจสอบทั้งผักทั่วๆ ไป กับผักที่มีเครื่องหมายการรับรองมาตรฐาน ส่วนอีกแหล่งหนึ่งคือ ตลาดสดทั่วไปในกรุงเทพฯ ตลาดสดในจังหวัดเชียงใหม่ ยโสธร สงขลา รวมถึงตลาดค้าส่งในกรุงเทพฯ อีกแห่งหนึ่งด้วย โดยนำตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ SGS ซึ่งได้รับ ISO 17025 เพื่อวิเคราะห์หาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 4 กลุ่ม


ส้มสายน้ำผึ้ง อันดับ 1

ผลการวิเคราะห์พบว่า โดยภาพรวม ผัก ผลไม้ ที่นำมาตรวจมีการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเกินกว่าครึ่ง คือคิดเป็น 55.9% และที่น่าตกใจคือ ผักที่พบการตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดคือ ผัก ผลไม้ ที่ได้รับตรารับรองมาตรฐาน Q มีมากถึง 87.5% ถ้าแยกตามประเภทผลไม้ ส้มสายน้ำผึ้ง มีสารตกค้างมากสุด ถึง 100% หมายความว่า ส้มทุกผลที่ตรวจมีสารตกค้าง จึงได้ตรวจเจาะจงไปที่ เนื้อส้ม ว่ามีสารตกค้างหรือไม่ พบว่าสารคาร์เบนดาซิมในเนื้อส้มมีจำนวนไม่แตกต่างกับที่เปลือกส้มแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นการล้างผล และการปอกเปลือกไม่สามารถช่วยอะไรท่านได้เลย ฟังแล้วน่าขนลุก เพราะเรามักชอบกินน้ำส้มคั้น ที่คั้นกันเห็นๆ ก็คือ เอาส้มมาผ่าเป็น 2 ซีก จะล้างผลหรือไม่ ไม่เห็น แล้วเอาใส่เครื่องหนีบกดลงไปด้วยมือ น้ำส้มกับเปลือกผสมกัน เราก็ว่าสยองอยู่ จึงมักจะเลือกซื้อชนิดที่ปอกเปลือกแล้วผ่าคั้น แต่พอได้ยินข้อมูลนี้ว่าสารพิษสามารถดูดซึมถึงเนื้อส้มได้ ตกลงเรายังจะกล้ากินส้มอีกไหมนี่


ส่วนผลไม้ที่พบรองลงมาคือ ฝรั่ง 69.2% แอปเปิ้ล 58.3% สตรอเบอรี่ และส้มจีน พบเท่ากันคือ 50% ประเภทผัก ได้แก่ คะน้า 53.8% ซึ่งติดอันดับทุกครั้ง ถั่วฝักยาว 42.9% นี่ก็เหมือนกัน ผักชี 36.4% แตงโม 15.4% และพริกแดง 8.3%

ข้อเสนอของไทยแพน


จากข้อเท็จจริงเหล่านี้ ทำให้เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) จึงได้ยื่นข้อเสนอต่อภาครัฐ 3 ข้อ ดังนี้


1. ให้ มกอช. ร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร ยกเครื่องหมาย Q ขจัดความสับสนต่างๆ ใน Q ที่แตกต่างกัน และควบคุมมาตรฐานของผลผลิตให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด


2. ให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายจัดการปัญหา ณ ต้นทาง โดยการยกเลิกการใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรงโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คาร์โบฟูราน และเมโธมิล และให้กรมวิชาการเกษตรควบคุมการนำเข้าและการจำหน่ายสารเคมีทางการเกษตรกลุ่มที่มีอันตรายร้ายแรงและดูดซึมอย่างเข้มงวดโดยเปิดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในกระบวนการขึ้นทะเบียนวัตถุอันตรายทางการเกษตรและเพิ่มกลไกการตรวจสอบหลังการขึ้นทะเบียน(TrackingSystem)


3. ให้ มกอช. อย. และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ร่วมกับภาคเอกชน และประชาสังคมเร่งรัดการพัฒนาระบบเตือนภัยความปลอดภัยด้านอาหาร (Rapid Alert System for Food) ภายในปี พ.ศ. 2558


สรุปแล้ว ชีวิตคนเมืองต้องตายผ่อนส่งยังงี้นี่เอง ไหนจะทนสูดดมมลพิษจากท่อไอเสีย ไหนจะต้องทนกินผักฉีดยา จะกินผักที่มีตรารับรองก็ไม่ดีจริง หนีเสือปะจระเข้ เอางี้เอางี้ ผมมีวิธี ทำให้สารพิษมันลดลงแต่อย่าฝันว่าจะทำให้สารพิษหมดไป นอกจากปลูกกินเอง ให้ทำวิธีดังนี้ เมื่อซื้อผักและผลไม้จากตลาดมาบริโภค



ที่มา มติชนออนไลน์
วันที่ 31 มีนาคม 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”