5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถ

Post by brid.ladawan »

5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถือเมื่อ Google เปลี่ยนอัลกอริธึม


5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถือเมื่อ Google เปลี่ยนอัลกอริธึม

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถือเมื่อ Google เปลี่ยนอัลกอริธึม
เว็บไซต์ธุรกิจชื่อดังหลายไซต์ในสหรัฐฯสอบตกในการทดลองค้นหาบนระบบอัลกอริธึมใหม่หรือ “โมบาย เฟรนลี เทสต์ (Mobile-Friendly Test)” ของกูเกิล

5 เรื่องต้องรู้ของ ’Mobilegeddon' อุกกาบาตโหม่งโลกเสิร์ชมือถือเมื่อ Google เปลี่ยนอัลกอริธึม
เบาใจได้หากเจ้าของเว็บไซต์ทดลองค้นหาบนระบบอัลกอริธึมใหม่ที่เพจ Mobile-Friendly Test แล้วได้รับคำชมจากกูเกิล


ไม่ใช่ชื่อภาพยนตร์ยอดฮิตในอดีต “อาร์มาเกดอน (Armageddon)” แต่สื่อต่างชาติยกชื่อ “โมบายเกดอน (Mobilegeddon)” ให้เป็นชื่อเรียกภาวะที่กำลังจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของระบบค้นหาข้อมูล “กูเกิลเสิร์ช (Google Search)” ในวันที่ 21 เมษายน 2015 โดยเหตุที่ต้องเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอุกกาบาตเขย่าโลกแห่งการค้นหาข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา คือราว 40% ของเว็บไซต์กลุ่มท็อปที่แสดงผลในการเสิร์ชหน้าแรกสำเร็จในขณะนี้ จะมีแนวโน้มได้รับผลกระทบจาก Mobilegeddon แบบจัดเต็ม

ต่อไปนี้คือ 5 ประเด็นที่สำนักข่าวยูเอสเอทูเดย์ ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นสิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Mobilegeddon และการเปลี่ยนแปลงระบบจัดดัชนีใหม่เพื่อบริการค้นหาบนอุปกรณ์พกพาของกูเกิล

1. มันคืออะไร?

กูเกิลนั้นประกาศว่าวันอังคารที่ 21 เมษายน 2015 จะเป็นวันที่กูเกิลเริ่มต้นใช้ระบบวิเคราะห์การค้นหาหรืออัลกอริธึม (search algorithm) ใหม่อย่างเป็นทางการ โดยเว็บไซต์ที่อ่านบนอุปกรณ์พกพาไม่สะดวกจะถูกลดอันดับลง ขณะที่เว็บไซต์ที่อ่านง่ายหรือ mobile friendly ซึ่งได้รับความนิยมจะกลายเป็นเว็บไซต์อันดับต้นของผลการค้นหา

เว็บไซต์ที่อ่านบนอุปกรณ์พกพาไม่สะดวกคือเว็บไซต์ที่ไม่ได้พัฒนาให้รองรับการอ่านบนอุปกรณ์พกพา ทำให้ตัวหนังสือมีขนาดเล็กเกินไป ใช้เวลาโหลดหน้าเว็บนาน มีกราฟฟิกมากเกินไป และควบคุมการใช้งานยาก เว็บไซต์กลุ่มนี้จะถูกลดคะแนนลง และกูเกิลจะไปเพิ่มคะแนนให้เว็บไซต์ที่ไร้ปัญหาเหล่านี้แทน

การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลกับการค้นหาบนอุปกรณ์พกพาเท่านั้น โดยการค้นหาบนคอมพิวเตอร์จะยังคงแสดงผลแบบดั้งเดิม

2. เราจะเห็นผลจากการเปลี่ยนแปลงเมื่อใด?

จากเดิมที่เคยเสิร์ชแล้วพบเว็บไซต์คุ้นตา ผู้ใช้ทั่วโลกจะเริ่มเห็นอันดับผลการเสิร์ชใหม่ในช่วงเดือนเมษายน เนื่องจากกูเกิลระบุว่าอาจต้องใช้เวลาราว 1 สัปดาห์จึงจะเห็นผลจากการเปลี่ยนแปลงนี้

3. เรื่องนี้สำคัญตรงไหน?

สำนักวิจัยฟอร์เรสเตอร์รีเสิร์ช (Forrester Research) ประเมินว่าปัจจุบัน เว็บไซต์ธุรกิจเพียง 38% เท่านั้นที่มีการปรับปรุงเพื่อให้รองรับการแสดงผลบนอุปกรณ์พกพาโดยเฉพาะ สัดส่วนนี้สวนทางกับผู้ใช้สมาร์ทโฟนหลายล้านคนทั่วโลกที่ค้นหาข้อมูลบนอุปกรณ์ของตัวเองทุกวัน โดยเฉพาะในสหรัฐฯที่กูเกิลระบุว่า 86% ของผู้ใช้ใช้สมาร์ทโฟนสหรัฐฯนั้นค้นหาข้อมูลกับกูเกิล

จุดนี้ทำให้กูเกิลต้องการให้ธุรกิจทั่วโลกลงมือปรับปรุงเว็บไซต์ของตัวเองให้รองรับการใช้งานบนอุปกรณ์พกพาเป็นพิเศษ โดยเว็บไซต์ที่ปรับปรุงแล้วก็ควรจะมีคะแนนดีกว่าเมื่อเทียบกับ 177 ล้านเว็บไซต์ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูลของกูเกิล

การทดสอบของ USA TODAY ช่วงก่อนวันที่ 21 เมษายน พบว่าเว็บไซต์ธุรกิจชื่อดังหลายไซต์ในสหรัฐฯสอบตกในการทดลองค้นหาบนระบบอัลกอริธึมใหม่หรือ “โมบาย เฟรนลี เทสต์ (Mobile-Friendly Test)” ของกูเกิล โดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหารและขนมเช่น California Pizza Kitchen, M&Ms, ร้านอาหาร Coco's และ Sees Candy

การสอบตกนี้อาจทำให้ธุรกิจต้นสังกัดของเว็บไซต์กลุ่มนี้สูญเสียรายได้ไป เพราะการค้นหาบนอุปกรณ์พกพามักเป็นประตูดึงลูกค้าที่กำลังเดินทาง

4. Mobile-Friendly Test คืออะไร?

กูเกิลแนะนำให้เจ้าของเว็บไซต์ทดลองค้นหาบนระบบอัลกอริธึมใหม่ที่เพจ Mobile-Friendly Test (https://www.google.com/webmasters/tools ... -friendly/) ซึ่งจะทำให้เจ้าของเว็บไซต์เห็นอันดับผลการค้นหาใหม่ ก่อนจะลงมือพัฒนาและแก้ไขอย่างจริงจังต่อไป

5. เจ้าของเว็บไซต์ ทำอย่างไรดี?

กูเกิลระบุว่าการเปลี่ยนแปลงระบบอัลกอริธึมครั้งนี้จะมีผลกับการค้นหาข้อมูลบนอุปกรณ์พกพาทุกภาษาทั่วโลก ดังนั้นเจ้าของเว็บไซต์ทุกคนควรปรับปรุงเว็บหรือเลือกใช้บริการสร้างเว็บไซต์สำหรับอุปกรณ์พกพาซึ่งคิดค่าบริการหลักร้อยบาทต่อเดือน

เพียงปรับเว็บไซต์ให้เป็น mobile friendly ความเสี่ยงในมุมธุรกิจจาก Mobilegeddon จะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลายบริษัทที่มีรายได้หลักมาจากผู้ใช้บนอุปกรณ์พกพา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนี้อาจทำให้คู่แข่งของบริษัทเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพียงเพราะว่าลูกค้าค้นหาบนกูเกิลแล้วพบชื่อเว็บไซต์ของคู่แข่งเป็นชื่อแรก จุดนี้การสำรวจพบว่าเว็บไซต์อาจเสียทราฟฟิกผู้เข้าชมมากกว่า 50% หากแสดงผลในอันดับที่แย่ลง.

01:28 น. (แก้ไขล่าสุด 22 เมษายน 2558 01:32 น.)

ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 22 เมษายน 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”