Page 1 of 1

เอสเอ็มอีทั้งอาเซียนขาดแคลน “ช่าง” เร่งภาคการศึกษาป้อนสู่ตลา

Posted: 21 May 2015, 17:09
by brid.ladawan
เอสเอ็มอีทั้งอาเซียนขาดแคลน “ช่าง” เร่งภาคการศึกษาป้อนสู่ตลาดแรงงาน

เอสเอ็มอีทั้งอาเซียนขาดแคลน “ช่าง” เร่งภาคการศึกษาป้อนสู่ตลาดแรงงาน
ดร.วิมลกานต์ โกสุมาส รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
เผยแผนยุทธศาสตร์เอสเอ็มอีอาเซียนในอีก 10 ปีข้างหน้า ทุบโต๊ะเร่งให้แต่ละชาติสมาชิกส่งเสริมการศึกษาภาคอาชีวะให้มากยิ่งขึ้น ชี้ตลาดแรงงานต้องการอย่างยิ่ง พร้อมเผยรายชื่อ 12 สาขาสำคัญต้องการด่วน

ดร.วิมลกานต์ โกสุมาส รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากงานประชุมคณะทำงานอาเซียน SMEs ครั้งที่ 36 หรือ The ASEAN Small and Medium Enterprises Agencies Working Group (36TH ASEAN SMEWG) ระหว่างวันที่ 18-22 พ.ค.นี้ ซึ่งประเทศไทย โดย สสว.ได้รับหน้าที่เป็นประธานและเจ้าภาพจัดงาน จะหารือกันยกร่างแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาเอสเอ็มอีอาเซียน ซึ่งจะใช้ไปต่อเนื่องอีก 10 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2016-2025

ทั้งนี้ 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์สำคัญของแผนปฏิบัติการ คือ 1. ด้านพัฒนาส่งเสริมการผลิต การใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งด้านนี้ประเทศไทย และเวียดนามรับเป็นเจ้าภาพ มุ่งเน้นให้เอสเอ็มอีแต่ละชาติเกิดการสร้างนวัตกรรมในธุรกิจ โดยจากการหารือของชาติสมาชิกเห็นตรงกันว่าปัจจัยสำคัญควรจะส่งเสริมให้เกิดการศึกษาภาคอาชีวะให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น เนื่องจากตลาดแรงงานของทุกชาติอาเซียนล้วนแต่ขาดแคลนแรงงานช่างอย่างยิ่งโดยข้อมูลจากสำนักเลขาธิการอาเซียน 12 สาขาสำคัญด้านอาชีวะที่ตลาดแรงงานอาเซียนต้องการอย่างยิ่ง ได้แก่

สาขาผลิตภัณฑ์เกษตร (Agro-based products) สาขาประมง (Fisheries) สาขาผลิตภัณฑ์ยาง (Rubber-based products) สาขาสิ่งทอ (Textiles and Apparels)สาขายานยนต์ (Automotives) สาขาผลิตภัณฑ์ไม้ (Wood-based products) สาขาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) สาขาสุขภาพ (Healthcare) สาขาท่องเที่ยว (Tourism) สาขาการบิน (Air Travel) และสาขาลอจิสติกส์ (Logistic)

นอกจากนั้นยังมีการผลักดันให้เกิด “อาเซียน ออนไลน์ อะคาเดมี” ซึ่งจะเป็นวิทยาลัยอาเซียนออนไลน์ ให้เอสเอ็มอีอาเซียนเข้าถึงแหล่งความรู้ และเกิดการพัฒนาผลิตภาพ โดยการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นี้ประเทศไทยและเวียดนามจะทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพ

นอกจากนั้น ด้านส่งเสริมการผลิตแล้ว อีก 4 ยุทธศาสตร์สำคัญของแผนปฏิบัติการ คือ 2. มิติด้านการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อให้เอสเอ็มอีในอาเซียนมีแหล่งทางเลือกด้านเงินทุนมากยิ่งขึ้น และร่วมกันทำ “เอสเอ็มอีเครดิตเรดติ้ง” รวมถึงให้มีกระบวนการค้ำประกันสินเชื่อของแต่ละประเทศเพิ่มความเข้มแข็ง ซึ่งมิตินี้ประเทศมาเลเซีย และลาว รับเป็นเจ้าภาพ

3. มิติด้านการสนับสนุนการตลาด ซึ่งในอนาคตปี ค.ศ. 2030 ประชากรกว่า 63% ในอาเซียนจะเป็นคนระดับกลาง ซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญของเอสเอ็มอี ดังนั้น ต้องเชื่อมโยงการตลาดระหว่างบริษัทใหญ่กับเอสเอ็มอีในการเป็นฐานผลิต รวมถึงเชื่อมโยงการค้าระหว่างเอสเอ็มอีด้วยกันเอง ซึ่งด้านนี้ประเทศสิงคโปร์ และไทยรับเป็นเจ้าภาพ

4. มิติด้านนโยบายการส่งเสริม และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง พยายามปรับแก้กฎระเบียบต่างๆ เพื่อให้เอื้อต่อการทำธุรกิจระหว่างกันให้มากที่สุด มิตินี้ประเทศกัมพูชา และอินโดนีเซีย รับเป็นเจ้าภพ

และ 5. มิติด้านการส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ในอาเซียนมีจิตวิญญาณแห่งการเป็นผู้ประกอบการอย่างแท้จริง ซึ่งอยากจะพัฒนาสินค้าหรือบริการของตัวเองให้ดีที่สุดเหมือนเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นหรือเกาหลีในปัจจุบัน ด้านนี้ประเทศบรูไน ฟิลิปปินส์ และพม่า รับเป็นเจ้าภาพ


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 21 พฤษภาคม 2558