ซอฟต์แบงก์ฉวยโอกาสเยนแข็ง

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ซอฟต์แบงก์ฉวยโอกาสเยนแข็ง

Post by brid.ladawan »

ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


ซอฟต์แบงก์ฉวยโอกาสเยนแข็ง
« on: November 28, 2012, 09:36:30 am »

ซอฟต์แบงก์ฉวยโอกาสเยนแข็ง
วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม 2012 เวลา 10:29 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก - คอลัมน์ : ตลาดต่างประเทศ

การ ทุ่มเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซื้อกิจการเครือข่ายสปรินต์ เน็กซ์เทล ของซอฟต์แบงก์ สะท้อนถึงแนวโน้มการออกไปซื้อกิจการต่างชาติของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นอีก ครั้งในเวลาที่ตลาดในประเทศชะลอตัว

แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าข้อตกลงดังกล่าวจะไม่เปลี่ยนแปลงตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในสหรัฐฯ มากนัก
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า บริษัทสัญชาติญี่ปุ่นกำลังมองหาเป้าหมายเพื่อซื้อกิจการบริษัทต่างชาติใน ธุรกิจต่างๆ ตั้งแต่เภสัชกรรมไปจนถึงโฆษณา และในปีนี้มีแนวโน้มว่าจะทำลายสถิติมูลค่าการซื้อกิจการต่างชาติ 8.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ของปีก่อนลง โดยเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประชากรที่อายุมากขึ้น การส่งออกไปยังยุโรปที่ถดถอยลง รวมถึงค่าเงินเยนที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ล้วนเป็นปัจจัยที่ผลักดันแนวโน้มการออกซื้อกิจการในต่างประเทศ
"ค่าเยนแข็ง การเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศที่อิ่มตัว และอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำเป็นปัจจัยหนุนการออกกว้านซื้อกิจการในต่างชาติของ บริษัทญี่ปุ่น" นาโอกิ ฟูจิวาระ นักวิเคราะห์จากชินกิน แอสเซต แมเนจเมนต์ ในกรุงโตเกียวกล่าว พร้อมกับให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า แนวโน้มดังกล่าวจะดำเนินต่อไป โดยเจ้าของธุรกิจด้านอาหารและค้าปลีกจะเป็นเซ็กเตอร์ต่อไปที่จะหาทางขยายออก นอกประเทศ
ซอฟต์แบงก์กล่าวเมื่อต้นสัปดาห์ว่าจะซื้อหุ้นในสัดส่วน 70% คิดเป็นมูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 6.2 แสนล้านบาท) จากบริษัท สปรินต์ เน็กซ์เทลฯ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมอันดับ 3 ของสหรัฐอเมริกา ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการซื้อกิจการต่างชาติมูลค่าสูงสุดของบริษัทญี่ปุ่นนับ ตั้งแต่แจแปน โทแบคโค ซื้อกิจการบริษัท กัลลาเฮอร์ กรุ๊ปของอังกฤษเมื่อปี 2550 ด้วยมูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นับตั้งแต่ต้นปี 2555 บริษัทญี่ปุ่นใช้เงินซื้อกิจการในต่างชาติไปแล้ว 6.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ยังไม่รวมข้อตกลงระหว่างซอฟต์แบงก์และสปรินต์) ขณะที่ในปี 2553 มูลค่าการซื้อกิจการต่างชาติของบริษัทญี่ปุ่นอยู่ที่ 3.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และปี 2550 เป็นมูลค่า 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
โทชิฮิโร นากาฮามะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยไดอิจิ ไลฟ์ กล่าวว่าบริษัทญี่ปุ่นต้องออกนอกประเทศเพื่อให้อยู่รอดในตลาดโลก "การควบรวมกิจการเป็นเครื่องมือที่ดีในการขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วในตลาดต่าง ประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นนับว่าดำเนินการในเรื่องดังกล่าวช้ากว่าประเทศร่ำรวย อื่นๆ"
นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเข้าไปซื้อกิจการของซอฟต์แบงก์ในครั้งนี้ จะช่วยเพิ่มเงินทุนให้กับสปรินต์ เน็กซ์เทล สำหรับนำไปสร้างเครือข่ายข้อมูลความเร็วสูงเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งได้ดียิ่ง ขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สปรินต์จะยังคงมีปัญหาในการดึงลูกค้ามาใช้บริการ โดยเฉพาะในตลาดที่ถูกครอบครองโดยยักษ์ใหญ่ 2 ราย อย่างเวอไรซอน คอมมิวนิเคชันส์ อิงค์ และเอทีแอนด์ที อิงค์
ฟิลลิป เรดแมน นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ กล่าวว่า จะต้องอาศัยมากกว่าการอัพเกรดเทคโนโลยีจึงจะสามารถพัฒนาตำแหน่งของสปรินต์ใน ตลาดสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามูลค่าแบรนด์ของสปรินต์ลดต่ำลงแม้ว่าจะมีการวาง กลยุทธ์ทางด้านราคาที่ดี โดยส่วนหนึ่งเป็นพราะบริษัทอยู่ในตำแหน่งการแข่งขันที่อ่อนแอ
ข้อมูลจากบริษัทวิจัย ไอเอชเอส ไอซัพพลาย ระบุว่า เครือข่ายซอฟต์แบงก์และสปรินต์มีผู้ใช้บริการรวมกัน 96 ล้านคน แต่ตัวเลขดังกล่าวรวมจำนวนผู้ใช้งานในญี่ปุ่นด้วย และตัวเลขดังกล่าวก็ยังไม่มากเท่ากับผู้ใช้งานเครือข่ายเวอไรซอน 108 ล้านคนในปี 2554 และจำนวนผู้ใช้งานกว่า 103 ล้านคนของเอทีแอนด์ที "มันไม่เปลี่ยนโครงสร้างการแข่งขันมากนัก หมายความว่าข้อตกลงครั้งนี้ไม่ได้กำจัดคู่แข่งออกไป" ทอดด์ รีเธอไมเออร์ จากบริษัทวิจัย ฮัดสัน สแควร์ กล่าว
ขณะเดียวกัน การจับมือกับซอฟต์แบงก์ ซึ่งเป็นผู้นำไอโฟนเข้ามาจำหน่ายในญี่ปุ่น อาจจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับสปรินต์ในการเจรจากับแอปเปิล อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์บางรายมองว่า สปรินต์คงจะสู้กับจำนวนผู้ใช้ของเอทีแอนด์ทีและเวอไรซอนได้ยากในระยะยาว "ตลาดเติบโตเกือบจะเต็มที่แล้ว การเติบโตจะมาจากการแย่งลูกค้ามาจากเอทีแอนด์ทีและเวอไรซอน" ชาร์ลส โกลวิน นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัยฟอร์เรสเตอร์ ให้ความเห็น

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 32 ฉบับที่ 2,785 วันที่ 21-24 ตุลาคม พ.ศ. 2555
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”