ฝันไกลไทยตั้ง "ธนาคารนม" ลงทุนมาก-ค่าตรวจเชื้อสูง ราคานมบริจ

Post Reply
brid.ladawan
Posts: 7045
Joined: 29 Mar 2013, 13:36

ฝันไกลไทยตั้ง "ธนาคารนม" ลงทุนมาก-ค่าตรวจเชื้อสูง ราคานมบริจ

Post by brid.ladawan »

ฝันไกลไทยตั้ง "ธนาคารนม" ลงทุนมาก-ค่าตรวจเชื้อสูง ราคานมบริจาคแพงหูฉี่

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ฝันไกลไทยตั้ง ธนาคารนม ลงทุนมาก-ค่าตรวจเชื้อสูง ราคานมบริจาคแพงหูฉี่
พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผอ.รพ.เด็ก


ผอ.รพ.เด็กเผยไทยเคยคิดทำธนาคารนม สำหรับทารกดูดนมแม่ตัวเองไม่ได้ แต่ติดปัญหาใช้งบลงทุนมาก ค่าตรวจแล็บคัดกรองเชื้อในน้ำนมสูง ส่งผลค่าน้ำนมในธนาคารนมแพงหูฉี่ ยกสหรัฐฯ น้ำนม 1 ออนซ์ ราคากว่า 60 บาท ขณะที่เด็กทารกกินนมแต่ละวันมาก ย้ำคนเป็นแม่นม หรือบริจาคน้ำนมต้องมั่นใจ ไม่ป่วย ปลอดภัยจริง

พญ.ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวถึงกรณีพยาบาลบริจาคน้ำนมให้ทารก เนื่องจากแม่ของเด็กประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถให้นมลูกเองได้ ซึ่งแม่เด็กก็ได้อนุญาตแล้ว จนเกิดเสียงชื่นชมทางสังคมออนไลน์ แต่ก็มีการเตือนถึงการให้น้ำนมแก่ทารกอื่นที่ไม่ใช่ลูกตัวเองควรระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ ว่า ขอชื่นชมพยาบาลคนดังกล่าวที่มีจิตเมตตาตามหลักพยาบาล ซึ่งจริงๆ แล้วการให้นมแก่ทารกคนอื่นก็ถือเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังว่าน้ำนมตัวเองนั้นปลอดภัยต่อเด็กคนอื่นจริงๆ ซึ่งคาดว่านางพยาบาลคนดังกล่าวคงมั่นใจแล้วว่าน้ำนมตัวเองนั้นปลอดภัยสำหรับเด็ก ไม่มีการเจ็บป่วย จึงบริจาคให้แก่เด็กทารก

พญ.ศิราภรณ์ กล่าวว่า โดยปกติแล้วนั้นเมื่อเด็กไม่สามารถดูดนมจากแม่ได้นั้น หากเป็นกรณีแม่ป่วย แต่ยังสามารถบีบน้ำนมออกจากเต้าได้ ก็จะบีบน้ำนมใส่ไซริงค์ หรือกระบอกฉีดยาพลาสติก ให้เด็กทารกดูด เพราะต้องยอมรับว่า น้ำนมแม่สำคัญที่สุด แต่หากแม่ไม่สามารถให้นมได้เลย เช่น เสียชีวิต ไม่อยู่กับลูก หรือติดเชื้อเอชไอวี ก็จะให้นมด้วยวิธีอื่น เช่น นมสำหรับเด็กทารก หรือหากเป็นแม่นมก็ต้องมีการตรวจคุณภาพความปลอดภัยของน้ำนม เพราะในทางการแพทย์นั้น หากจะมีการให้น้ำนมแก่เด็กจำเป็นต้องตรวจคัดกรองว่า ปลอดเชื้อแล้ว ยิ่งในหญิงที่ไม่ใช่แม่แท้ๆ ยิ่งต้องตรวจ ซึ่งในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา มีการดำเนินการในเรื่องธนาคารนม เช่นเดียวกับธนาคารเลือด ซึ่งนมจากธนาคารที่จะนำมาให้เด็กทารกทานมีราคาแพงมาก 1 ออนซ์ อยู่ที่ประมาณ 2 เหรียญสหรัฐ หรือ 60 บาท เพราะมีการตรวจคัดกรองเชื้อ และผ่านการทำความสะอาดต่างๆ มาแล้ว โดยที่คุณค่าสารอาหารต่างๆ ยังอยู่ครบถ้วน และแต่ละวันเด็กทารกต้องทานนมเป็นปริมาณ ทำให้ค่าใช้จ่ายในการใช้บริการธนาคารนมนั้นยิ่งสูงขึ้นไปอีก

"สำหรับประเทศไทยนั้น โรงพยาบาลรามาธิบดีเคยจะดำเนินการตั้งธนาคารนม แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้สำเร็จ เพราะหากจะดำเนินการต้องมีการลงทุนสูง และน้ำนมที่จะนำมาบริจาคต้องปลอดเชื้อจริงๆ ต้องผ่านการตรวจทางห้องปฏิบัติการเช่นเดียวกับการบริจาคเลือด ซึ่งค่าใช้จ่ายแต่ละครั้งถือว่าสูงมาก และด้วยไทยอาจไม่มีการบริจาคน้ำนมมาก เหมือนสมัยก่อนจะมีแม่นม แต่ขณะนั้นอาจไม่ค่อยมีโรคมากเท่าปัจจุบัน จึงไม่ค่อยพบปัญหามากนัก” พญ.ศิราภรณ์ กล่าว


ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 6 มิถุนายน 2558
Post Reply

Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”