ขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่สนามบิน “ประจิน” ซ้ำเติมคนไทยยุคข้าวย
Posted: 09 Jun 2015, 17:36
ขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่สนามบิน “ประจิน” ซ้ำเติมคนไทยยุคข้าวยากหมากแพง
“ประจิน” ไฟเขียวขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่ 2 สนามบิน ปรับจาก 50 บาท เป็น 75 และ 95 บาท ด้าน ทอท.ร้องจ๊าก! ไม่ขอจ่าย อ้างเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้าน “อาคม” บินไปแคนาดา แจงไอซีเอโอ 13 มิ.ย.นี้ ก่อนโดนตัดสินชะตา 18 มิ.ย. ลุ้นไม่ประกาศข้อบกพร่อง ยันไทยแก้ไขคืบหน้า ระยะสั้นเสร็จเดือน ก.ย. ส่วนระยะกลาง-ยาว แก้เสร็จปลายปีนี้-ต้นปี 59
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียม (เซอร์ชาร์จ) รถแท็กซี่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ทั้งรถแท็กซี่เก๋ง และแท็กซี่แวน แต่การปรับเพิ่มขึ้นจะน้อยกว่าที่คณะทำงานศึกษาเรื่องการปรับค่าธรรมเนียมการให้บริการแท็กซี่สนามบินเสนอมา และจะไม่กระทบให้ประชาชนมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะในช่วง 6 เดือนแรกของการปรับเพิ่มค่าเซอร์ชาร์จ จะให้บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นผู้รับภาระส่วนต่างเซอร์ชาร์จที่เพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคม ว่า พล.อ.อ.ประจิน มอบหมายให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และนายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ไปหารือกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และกรมการขนส่งทางบก ถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้แท็กซี่สนามบินที่สุวรรณภูมิ และดอนเมืองเพิ่มขึ้น หลังจากคณะกรรมการศึกษาการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่สนามบิน ได้เสนอให้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่ รถแท็กซี่ขนาดใหญ่ หรือรถแวนเพิ่มจาก 50 บาท เป็น 95 บาท และรถแท็กซี่ขนาดเล็ก หรือรถเก๋งเพิ่มจาก 50 บาท เป็น 75 บาท
ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ยังไม่ได้เห็นรายงานสรุปผลการศึกษาเรื่องนี้ แต่เบื้องต้น พล.อ.อ.ประจิน ได้แจ้งว่าอาจมีการปรับค่าเซอร์ชาร์จแท็กซี่ทั้ง 2 สนามบิน โดยรถแท็กซี่ปกติอาจเพิ่มเป็น 60 บาท และแท็กซี่ขนาดใหญ่เพิ่มเป็น 80 บาท และขอให้ ทอท. ช่วยรับภาระเซอร์ชาร์จ 6 เดือน ซึ่งตนแจ้งกลับว่าจะนำข้อเสนอมาพิจารณาดูข้อกฎหมายตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ก่อน และต้องมีเหตุผลชี้แจงกับผู้ถือหุ้นของ ทอท.ได้ แต่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นแนวทางว่า ทอท.จะเข้ามารับภาระในส่วนนี้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวจาก ทอท. กล่าวว่า ปัจจุบัน ทอท.เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ดังนั้นการอนุมัติเงินงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยให้กับรถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองคงไม่สามารถทำได้เอง และต้องเสนอเรื่องเพื่อขออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน และตามหลักการค่าบริการรถแท็กซี่เป็นเรื่องที่ผู้โดยสารทั้งคนไทยและต่างประเทศจะต้องรับภาระ ไม่ใช่ภารกิจที่ ทอท.จะต้องเข้ามารับผิดชอบ จึงไม่มีเหตุผลที่ ทอท.จะต้องรับภาระในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการศึกษาการขึ้นค่า ธรรมเนียมแท็กซี่ฯ ได้มีข้อสรุปเสนอทั้งสิ้น 3 แนวทาง แนวทางแรกให้ขึ้นค่าธรรมเนียมรถแท็กซี่สนามบินทั้งรถเล็ก และรถใหญ่ พร้อมกับประสานให้ ทอท.ปรับปรุงการให้บริการ แนวทางต่อมา เสนอให้นำรถแท็กซี่แวนขนาดใหญ่มาเป็นทะเบียนรถป้ายสีเขียว โดยให้ ทอท.เป็นผู้กำกับดูแลและค่าโดยสารได้เองโดยไม่ต้องกดมิเตอร์ แต่วิธีนี้อาจได้รับความร่วมมือน้อยเพราะรถแท็กซี่ไม่ยอมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ส่วนแนวทางสุดท้าย เสนอให้ปรับค่าธรรมเนียมการใช้แท็กซี่สนามบิน และให้มีการปรับมิเตอร์รถแท็กซี่เป็น 2 ระบบ แยกกันระหว่างรถแท็กซี่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ แต่วิธีนี้อาจมีความยุ่งยากและไม่เหมาะสม ดังนั้นแนวทางที่เป็นไปได้มากสุดคือการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมรถแท็กซี่ทั้ง 2 ชนิด ให้แตกต่างกัน ขณะที่การปรับขึ้นค่าโดยสารรถแท็กซี่ทั้งระบบในระยะสองช่วงเดือน ก.ค.นี้ อีก 5% เพื่อให้ครบ 13% นั้น เบื้องต้นต้องรอนำผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานผู้โดยสารจากกรมการขนส่งทางบกมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ยืนยันว่าในการขึ้นมิเตอร์แท็กซี่รอบสอง ค่ามิเตอร์จะไม่ขึ้นไปจากข้อตกลงเดิมที่ 5% เนื่องจากผลการศึกษาต้นทุนค่าแท็กซี่ล่าสุดพบว่าต้นทุนค่าโดยสารแท็กซี่ไม่ได้ขึ้นจากเงื่อนไขเดิมที่วิเคราะห์ไว้เมื่อปลายปีก่อน
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เผยว่า เตรียมเดินทางไปสำนักงานใหญ่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เมืองมอนทรีออล แคนาดา 13-15 มิ.ย.58 และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) เพื่อชี้แจงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (เอสเอสซี) ของกรมการบินพลเรือนไทย ตามที่ไอซีเอโอเสนอแนะมา โดยการแก้ไขในระยะเร่งด่วน ด้านการจัดทำคู่มือการบิน การอบรม และการทบทวนใบอนุญาตการบิน (เอโอซี) จะแล้วเสร็จไม่เกินเดือน ก.ย.-ต.ค.58 ส่วนการปรับโครงสร้างกรมการบินพลเรือน อยู่ในแผนระยะกลาง-ระยะยาว คาดเสร็จปลายปีนี้ถึงต้นปี 59
“ไอซีเอโอกำหนดระยะเวลาแก้ไขปัญหาการบินให้เสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 18 มิ.ย. พร้อมกับประกาศทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการให้ประเทศสมาชิกรับทราบ โดยถือเป็นเรื่องที่ไทยต้องชี้แจงการแก้ไขปัญหาของเรา และหากไอซีเอโอพอใจการแก้ไขปัญหาของไทย ไอซีเอโอก็อาจไม่ประกาศให้ประเทศสมาชิกทราบ”.
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 9 มิถุนายน 2558
“ประจิน” ไฟเขียวขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่ 2 สนามบิน ปรับจาก 50 บาท เป็น 75 และ 95 บาท ด้าน ทอท.ร้องจ๊าก! ไม่ขอจ่าย อ้างเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ ด้าน “อาคม” บินไปแคนาดา แจงไอซีเอโอ 13 มิ.ย.นี้ ก่อนโดนตัดสินชะตา 18 มิ.ย. ลุ้นไม่ประกาศข้อบกพร่อง ยันไทยแก้ไขคืบหน้า ระยะสั้นเสร็จเดือน ก.ย. ส่วนระยะกลาง-ยาว แก้เสร็จปลายปีนี้-ต้นปี 59
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เห็นชอบให้มีการปรับขึ้นค่าธรรมเนียม (เซอร์ชาร์จ) รถแท็กซี่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ทั้งรถแท็กซี่เก๋ง และแท็กซี่แวน แต่การปรับเพิ่มขึ้นจะน้อยกว่าที่คณะทำงานศึกษาเรื่องการปรับค่าธรรมเนียมการให้บริการแท็กซี่สนามบินเสนอมา และจะไม่กระทบให้ประชาชนมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น เพราะในช่วง 6 เดือนแรกของการปรับเพิ่มค่าเซอร์ชาร์จ จะให้บริษัทการท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เป็นผู้รับภาระส่วนต่างเซอร์ชาร์จที่เพิ่มขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคม ว่า พล.อ.อ.ประจิน มอบหมายให้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม และนายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ไปหารือกับบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และกรมการขนส่งทางบก ถึงแนวทางการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการใช้แท็กซี่สนามบินที่สุวรรณภูมิ และดอนเมืองเพิ่มขึ้น หลังจากคณะกรรมการศึกษาการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่สนามบิน ได้เสนอให้ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมแท็กซี่ รถแท็กซี่ขนาดใหญ่ หรือรถแวนเพิ่มจาก 50 บาท เป็น 95 บาท และรถแท็กซี่ขนาดเล็ก หรือรถเก๋งเพิ่มจาก 50 บาท เป็น 75 บาท
ด้านนายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. กล่าวว่า ยังไม่ได้เห็นรายงานสรุปผลการศึกษาเรื่องนี้ แต่เบื้องต้น พล.อ.อ.ประจิน ได้แจ้งว่าอาจมีการปรับค่าเซอร์ชาร์จแท็กซี่ทั้ง 2 สนามบิน โดยรถแท็กซี่ปกติอาจเพิ่มเป็น 60 บาท และแท็กซี่ขนาดใหญ่เพิ่มเป็น 80 บาท และขอให้ ทอท. ช่วยรับภาระเซอร์ชาร์จ 6 เดือน ซึ่งตนแจ้งกลับว่าจะนำข้อเสนอมาพิจารณาดูข้อกฎหมายตามระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ก่อน และต้องมีเหตุผลชี้แจงกับผู้ถือหุ้นของ ทอท.ได้ แต่ขณะนี้ยังมองไม่เห็นแนวทางว่า ทอท.จะเข้ามารับภาระในส่วนนี้อย่างไร
ผู้สื่อข่าวจาก ทอท. กล่าวว่า ปัจจุบัน ทอท.เป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ดังนั้นการอนุมัติเงินงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยให้กับรถแท็กซี่ในสนามบินสุวรรณภูมิและดอนเมืองคงไม่สามารถทำได้เอง และต้องเสนอเรื่องเพื่อขออนุมัติในที่ประชุมผู้ถือหุ้นก่อน และตามหลักการค่าบริการรถแท็กซี่เป็นเรื่องที่ผู้โดยสารทั้งคนไทยและต่างประเทศจะต้องรับภาระ ไม่ใช่ภารกิจที่ ทอท.จะต้องเข้ามารับผิดชอบ จึงไม่มีเหตุผลที่ ทอท.จะต้องรับภาระในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการศึกษาการขึ้นค่า ธรรมเนียมแท็กซี่ฯ ได้มีข้อสรุปเสนอทั้งสิ้น 3 แนวทาง แนวทางแรกให้ขึ้นค่าธรรมเนียมรถแท็กซี่สนามบินทั้งรถเล็ก และรถใหญ่ พร้อมกับประสานให้ ทอท.ปรับปรุงการให้บริการ แนวทางต่อมา เสนอให้นำรถแท็กซี่แวนขนาดใหญ่มาเป็นทะเบียนรถป้ายสีเขียว โดยให้ ทอท.เป็นผู้กำกับดูแลและค่าโดยสารได้เองโดยไม่ต้องกดมิเตอร์ แต่วิธีนี้อาจได้รับความร่วมมือน้อยเพราะรถแท็กซี่ไม่ยอมจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
ส่วนแนวทางสุดท้าย เสนอให้ปรับค่าธรรมเนียมการใช้แท็กซี่สนามบิน และให้มีการปรับมิเตอร์รถแท็กซี่เป็น 2 ระบบ แยกกันระหว่างรถแท็กซี่ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ แต่วิธีนี้อาจมีความยุ่งยากและไม่เหมาะสม ดังนั้นแนวทางที่เป็นไปได้มากสุดคือการปรับขึ้นค่าธรรมเนียมรถแท็กซี่ทั้ง 2 ชนิด ให้แตกต่างกัน ขณะที่การปรับขึ้นค่าโดยสารรถแท็กซี่ทั้งระบบในระยะสองช่วงเดือน ก.ค.นี้ อีก 5% เพื่อให้ครบ 13% นั้น เบื้องต้นต้องรอนำผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานผู้โดยสารจากกรมการขนส่งทางบกมาพิจารณาร่วมด้วย แต่ยืนยันว่าในการขึ้นมิเตอร์แท็กซี่รอบสอง ค่ามิเตอร์จะไม่ขึ้นไปจากข้อตกลงเดิมที่ 5% เนื่องจากผลการศึกษาต้นทุนค่าแท็กซี่ล่าสุดพบว่าต้นทุนค่าโดยสารแท็กซี่ไม่ได้ขึ้นจากเงื่อนไขเดิมที่วิเคราะห์ไว้เมื่อปลายปีก่อน
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เผยว่า เตรียมเดินทางไปสำนักงานใหญ่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) เมืองมอนทรีออล แคนาดา 13-15 มิ.ย.58 และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (เอฟเอเอ) เพื่อชี้แจงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาข้อบกพร่องที่มีนัยสำคัญต่อความปลอดภัย (เอสเอสซี) ของกรมการบินพลเรือนไทย ตามที่ไอซีเอโอเสนอแนะมา โดยการแก้ไขในระยะเร่งด่วน ด้านการจัดทำคู่มือการบิน การอบรม และการทบทวนใบอนุญาตการบิน (เอโอซี) จะแล้วเสร็จไม่เกินเดือน ก.ย.-ต.ค.58 ส่วนการปรับโครงสร้างกรมการบินพลเรือน อยู่ในแผนระยะกลาง-ระยะยาว คาดเสร็จปลายปีนี้ถึงต้นปี 59
“ไอซีเอโอกำหนดระยะเวลาแก้ไขปัญหาการบินให้เสร็จภายใน 90 วัน ซึ่งจะครบกำหนดวันที่ 18 มิ.ย. พร้อมกับประกาศทางเว็บไซต์อย่างเป็นทางการให้ประเทศสมาชิกรับทราบ โดยถือเป็นเรื่องที่ไทยต้องชี้แจงการแก้ไขปัญหาของเรา และหากไอซีเอโอพอใจการแก้ไขปัญหาของไทย ไอซีเอโอก็อาจไม่ประกาศให้ประเทศสมาชิกทราบ”.
ที่มา ASTVผู้จัดการออนไลน์
วันที่ 9 มิถุนายน 2558