Page 1 of 1

เคล็ดลับเข้าถึงแหล่งเงินทุน คัมภีร์ "เอสเอ็มอี" ICT ไทย

Posted: 06 Apr 2013, 15:51
by brid.ladawan
ladawan
Hero Member
*****
Posts: 824


View Profile Email


เคล็ดลับเข้าถึงแหล่งเงินทุน คัมภีร์ "เอสเอ็มอี" ICT ไทย
« on: November 28, 2012, 01:43:48 pm »

เคล็ดลับเข้าถึงแหล่งเงินทุน คัมภีร์ "เอสเอ็มอี" ICT ไทย

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

ใคร ๆ ก็รู้ว่าเงินลงทุนเป็นสิ่งสำคัญในการทำธุรกิจขนาดไหน แต่ผู้ประกอบการด้าน "ไอซีที" รายย่อยมักมีปัญหาในการเข้าถึงแหล่งทุน กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จึงมีโครงการส่งเสริมการลงทุนและพัฒนาธุรกิจ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการไอซีทีไทยสู่สากล ด้วยการจัดสัมมนาในหัวข้อ "เงินทุนในระบบเพื่อ SMEs ICT ไทย" เพื่อให้ความรู้กับผู้ประกอบการไอซีที

"บุญเสก พันธุ์อุดม" ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) กล่าวว่า ธนาคารมีเงินพร้อมปล่อยกู้จำนวนมาก แต่จะอนุมัติหรือไม่ขึ้นอยู่กับแผนธุรกิจที่นำมาเสนอ ซึ่งกลุ่มธุรกิจไอซีทีเป็นกิจการที่จับต้องได้ยาก เพราะไม่มีทรัพย์สินพวกเครื่องจักรที่จับต้องได้ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาปัญหาในการอนุมัติเงินกู้ คือ โปรเจ็กต์ที่ผู้ประกอบการนำมาเสนอไม่มีความชัดเจนเพียงพอ

สิ่ง สำคัญคือ ต้องรู้เขารู้เรา คือรู้ว่าแบงก์แต่ละแห่งชอบอะไร อยากให้เข้าไปศึกษา อย่าง SME Bank ที่หน้าเว็บไซต์ฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการจะมีโมเดลธุรกิจให้ศึกษาเพื่อเป็น ตัวอย่าง อีกปัญหาที่เจอคือ ผู้ประกอบการชอบเขียนโปรเจ็กต์แบบเข้าข้างตัวเอง ข้อมูลไม่แน่น ไม่มีข้อมูล

คู่แข่ง และขนาดตลาด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องลงพื้นที่สำรวจเอง แต่ใช้งานวิจัยของภาครัฐหรือสถาบันวิจัยเอกชน เช่น กสิกรไทย หรือหอการค้ามาสนับสนุนให้เห็นว่า แนวโน้มตลาดจะเป็นอย่างไรต่อไปได้ รวมถึงมีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง โดยทุกอย่างมีข้อมูลอ้างอิงได้ ไม่ใช่นั่งเทียนเขียน

สิ่งที่ธนาคาร ต้องการ คือ มีข้อมูลที่ปูพื้นมาให้เห็นว่าบริษัทมีศักยภาพอย่างไร เน้นที่การขาย ยอดงบดุล งบกำไรขาดทุน ที่จะสะท้อนกลับมาให้แบงก์เห็นว่าบริษัทมีความสามารถในการชำระหนี้แค่ไหน และการได้รับการสนับสนุนจะทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นได้อย่างไร

"สิ่งที่ แบงก์อยากรู้คือ เงินที่เหลือของธุรกิจว่าสามารถผ่อนได้แค่ไหน ถ้ารายได้ ที่เข้ามาหักรายจ่ายต่าง ๆ แล้วมากกว่าค่างวดที่ผ่อน 1.3 เท่า โอกาสปล่อยกู้มีสูง แต่ต้องดูอีกว่าประมาณการรายได้ต่าง ๆ จะทำได้จริงหรือเปล่าด้วย"

"ไอเดีย" ในการทำธุรกิจเป็นอีกสิ่งที่สำคัญมาก คิดก่อนทำก่อนย่อมได้เปรียบ แต่ปกติสิ่งที่ผู้ประกอบการ SMEs ทำคือการเป็นผู้ตาม อะไรฮิตมีคนทำแล้วดีก็ทำตาม ๆ กันไป

"3 ปีที่ผ่านมาเจอผู้ประกอบการ SMEs มาเยอะ แต่ตายไปกว่าครึ่งเพราะบางครั้งเงินสนับสนุนจากแบงก์อย่างเดียวก็ไม่พอ การมีพี่เลี้ยงทางธุรกิจมาช่วยดูแลเป็นสิ่งสำคัญ โครงการพวก venture capital กับรายใหญ่ ๆ ที่มีประสบการณ์มีประโยชน์มาก เนื่องจากเป็นเอกชนที่มีความคล่องตัวสูง และมีความเชี่ยวชาญในธุรกิจโดยตรง เพราะธนาคารมีแต่เงินไม่ได้เชี่ยวชาญมากพอที่จะเป็นพี่เลี้ยงได้หมด"

ฟาก "ธนพงษ์ ณ ระนอง" ผู้บริหารโครงการร่วมลงทุน บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (อินทัช) เปิดเผยว่า โครงการนี้ใช้เงินทุนของบริษัทเอง จึงมีกฎเกณฑ์ยืดหยุ่นกว่าการขอกู้เงินจากธนาคาร แต่เน้นธุรกิจที่มีไอเดียใหม่ ๆ เกี่ยวข้องกับธุรกิจด้านไอซีที ซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และดิจิทัลมีเดีย โดยมีเป้าหมายจะผลักดันบริษัทเหล่านั้นให้เข้าไประดมทุนต่อในตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ภายใน 3-5 ปี เนื่องจากบริษัทต้องการได้กำไรจากส่วนต่างราคาหุ้นส่วนการสนับสนุนจะเริ่ม ตั้งแต่ด้าน

การเงิน การทำตลาด การนำผลิตภัณฑ์หรือบริการไปทดลองกับลูกค้าของอินทัช หากมีศักยภาพมากพอก็พร้อมผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับพันธมิตรในต่างประเทศ เพื่อให้สามารถขยายตลาดได้มากขึ้น ตั้งแต่เปิดโครงการไปเมื่อต้นปีได้บรรลุความตกลงในการร่วมลงทุนแล้ว 1 ราย เป็นบริษัทที่ทำแอปพลิเคชั่น E-book

"นโยบายการร่วมลงทุนของอินทัช คือ ไม่ถือหุ้นเกิน 50% การเข้ามาเป็นกรรมการในบอร์ดจะเป็นไปตามสัดส่วนเพื่อให้คำแนะนำในการบริหาร แต่จะไม่เข้าไปยุ่งกับธุรกรรมประจำวัน ขณะที่การพิจารณาว่าจะร่วมลงทุนกับใครนั้นจะดูจากศักยภาพของโปรดักต์และผู้ บริหารก่อน เน้นความแข็งแรงตรงจุดนี้ คือต้องมีไอเดียโดดเด่น เห็นโอกาสโดยไม่มองข้ามอุปสรรค และรู้ว่าก้าวข้ามผ่านไปได้อย่างไร ส่วนเรื่องโมเดลธุรกิจจะดูเป็นสิ่งสุดท้าย"

"สมพร มณีรัตนะกูล" นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) กล่าวว่า การทำแผนธุรกิจเพื่อยื่นขอกู้เงิน หรือใช้ในโครงการร่วมลงทุน ประโยชน์ที่สำคัญคือ SMEs มีโอกาสที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญนอกองค์กรมาวิเคราะห์โมเดลธุรกิจ

"การ ให้คนนอกมาช่วยดูเป็นสิ่งที่ดี เพราะจะได้ที่ปรึกษาที่เห็นต่าง เท่ากับช่วยลดความเสี่ยงปัญหาในการทำธุรกิจที่มักจะเจอ คือ ผู้ประกอบการใช้ความรู้สึกมากกว่าใช้ข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยคิดว่าหรือและน่าจะเป็นแบบนี้ แบบนั้น ทำให้เกิดความเสี่ยงสูงมาก"

นอกจาก สถาบันการเงินที่จะเป็นแหล่งสินเชื่อแล้ว ยังมีงบประมาณที่ภาครัฐกระจายไปสนับสนุนผู้ประกอบการอีกหลายแห่ง มีทั้งที่เป็นเงินให้เปล่า และเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ อย่างในกลุ่มไอซีที แหล่งทุนที่น่าสนใจ อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมส่งเสริมการส่งออก หรือสถาบันการศึกษาบางแห่งจะมีโครงการบ่มเพาะผู้ประกอบการ ผู้ประกอบการจึงควรเข้าไปหาข้อมูลเพื่อนำมาใช้กับตนเอง

ขณะที่ "เฉลิมรัฐ นาควิเชียร" ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการโรงเรียน Net Design พูดถึงประสบการณ์ของตนเองก่อนที่จะประสบความสำเร็จในวันนี้ว่า ปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจซอฟต์แวร์และบริการด้านไอซีที คือ การบริหารนวัตกรรม บริการบุคคล และบริหารเวลา

"ผมเริ่มธุรกิจตอน วิกฤตต้มยำกุ้งพอดี มีเงินติดตัวแค่ 4 หมื่นบาท อยากทำโรงเรียนสอนทำเว็บไซต์ มองไปมองมาตัดสินใจใช้ทำเลตึกฟอร์จูน เมื่อไม่มีกระแสเงินสด สิ่งที่ทำคือไปเจรจากับผู้จัดการซีพีที่ดูแลตึก ขอเช่า 3 ปี แต่ขออยู่ฟรีก่อน 6 เดือน คอมพิวเตอร์ที่ใช้สอนก็เหมือนกัน ขอใช้ฟรี 2 เดือนก่อน เรียกว่าทุกอย่างซื้อเวลาไว้หมด เพราะกฎของแบงก์ชาติชัดเจน No land No loan และอยากให้ SMEs จำไว้ ถ้ายังลุกเดินไม่ได้อย่าคิดจะวิ่ง อย่าฝันที่จะทำแผนธุรกิจ ไปขอกู้ เอาเวลาไปทำงานดีกว่า ถ้าบริษัทแข็งแกร่ง ทำแล้วเวิร์ก แหล่งทุนวิ่งมาหาเอง เพราะใคร ๆ ก็อยากได้ผลตอบแทนการลงทุนที่ดี"

เมื่อ ธุรกิจไอซีทีไม่มีเครื่องจักรที่ใช้ในการทำธุรกิจที่จะใช้เป็นหลักประกันได้ ทางออกคือ เมื่อคิดโปรดักต์ที่ดีมีนวัตกรรมได้ ต้องนำไปจดสิทธิบัตรให้เร็วที่สุด หรือแม้แต่เครื่องหมายการค้าก็ต้องจดลิขสิทธิ์ เพราะพวกนี้เป็นมูลค่าเพิ่มในการลงทุน สามารถแปลงเป็นทุนได้ ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์