Page 1 of 1

ดราม่าระหว่างแท็กซี่ Uber กับ Carnegie Mellon University (1)

Posted: 08 Jul 2015, 13:36
by brid.ladawan
ดราม่าระหว่างแท็กซี่ Uber กับ Carnegie Mellon University (1)

„ดราม่าระหว่างแท็กซี่ Uber กับ Carnegie Mellon University (1) สำหรับผมถือว่าเป็นบริษัทเจ้า แห่งดราม่าแห่งหนึ่งเลย ถ้าคุณผู้อ่านติดตามข่าวสารของ Uber ในช่วงที่มาเปิดตัวบ้านเราใหม่ ๆ ก็จะทราบนะครับว่ามีปัญหากันอยู่ไม่น้อย วันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 3:43 น. พูดถึงแท็กซี่ Uber บริการแท็กซี่เรียกได้ผ่านสมาร์ทโฟนเจ้าแรกในประเทศ ไทย ที่เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปีก่อนพร้อมคอนเซปต์โดนใจผู้โดยสารว่า เรียกไปไหนก็ไปหมด สำหรับผมถือว่าเป็นบริษัทเจ้าแห่งดราม่าแห่งหนึ่งเลย ถ้าคุณผู้อ่านติดตามข่าวสารของ Uber ในช่วงที่มาเปิดตัวบ้านเราใหม่ ๆ ก็จะทราบนะครับว่ามีปัญหากันอยู่ไม่น้อย ทั้งโดนคนขับแท็กซี่แบบเดิมประท้วง ทั้งโดนสั่งห้ามวิ่งเพราะผิดกฎหมายของกรมการขนส่งทางบก ฯลฯ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็ไม่ได้เกิดเฉพาะในไทย แต่แท็กซี่ Uber มีปัญหาดราม่าทำนองนี้ไปทั่วทั้งโลกเลยล่ะครับ ด้วยความที่ดำเนินธุรกิจแบบตอบสนองผู้บริโภคฝั่งผู้โดยสารเต็มที่ โดยไม่ไว้หน้ากฎหมายที่ปรับตัวตามไม่ทัน และไม่สนใจผลกระทบที่เกิดกับระบบแท็กซี่แบบเก่าที่ในบางประเทศอย่างฝรั่งเศส กว่าจะได้ใบอนุญาตมาเป็นคนขับแท็กซี่ที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ต้องเสียค่าดำเนินการต่าง ๆ เป็นเงินก้อนโต พอมาเจอแท็กซี่ Uber ตัดแย่งผู้โดยสารไปกันง่าย ๆ แบบนี้ก็เลยเป็นเรื่องประท้วงกันใหญ่โตเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ดราม่าล่าสุดของแท็กซี่ Uber ที่ผมจะมาเล่านี้ไม่ใช่ดราม่ากับแท็กซี่ด้วยกัน หรือกับกฎหมายการขนส่งของประเทศไหนนะครับ แต่เป็นดราม่าที่ Uber ข้ามขั้นไปมีกับ Carnegie Mellon University (CMU) ในสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่เรียกได้ว่าเป็นที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทางด้านหุ่นยนต์ ผลิตนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ระดับโลกมาแล้วเป็นจำนวนมากก่อนอื่นผมขออนุญาตอธิบายก่อนนะครับว่า Uber ไม่ได้เป็นแค่บริษัทที่ให้บริการพาหนะโดยสารเพียงอย่างเดียว แต่เช่นเดียวกับบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ Uber มีศูนย์วิจัยและพัฒนาเป็นของตนเองสำหรับสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ ซึ่งเรื่องของเรื่อง คือ Uber ต้องการจะลดค่าใช้จ่ายในการจ้างคนขับ ซึ่งในบางประเทศค่าจ้างคนขับ Uber เป็นจำนวนเงินถึงกว่า 80% ของค่าโดยสารที่เราจ่ายไปเลยทีเดียวนะครับ โดยสิ่งที่จะมาแทนคนขับ ก็คือ เทคโนโลยียานพาหนะไร้คนขับซึ่งเป็นเทคโน โลยีที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกหลายแห่งกำลังพยายามค้นคว้าอยู่ แต่ก็ยังไม่มีเจ้าไหนที่ประกาศความสำเร็จแบบพร้อมใช้จริงบนท้องถนนออกมาได้ การจะสร้างเทคโนโลยีระดับนี้แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ครับ ถ้าไม่ได้คนระดับหัวกะทิของโลกมาคงไม่ต้องแม้จะหวังเลย เมื่อช่วงต้นปี 2558 นี้เองทาง Uber เลยตั้งใจจะสร้างศูนย์วิจัยแห่งใหม่ที่อเมริกาในเมืองพิตส์เบิร์ก รัฐเพนซิลวาเนีย โดยจะเอาไว้สำหรับค้นคว้าวิจัยเรื่องยานพาหนะไร้คนขับนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในขณะที่ศูนย์วิจัยก็ยังไม่ทันจะได้สร้างดี Uber ก็เริ่มมองหานักวิจัยมือฉมังที่จะมาทำงานที่ศูนย์วิจัยนี้แล้ว ซึ่งก็ไม่ต้องมองหาที่ไหนไกลครับ เพราะมีมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกทางด้านหุ่นยนต์อย่าง Carnegie Mellon University ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กันนี่เอง ในตอนแรกนั้นทาง Uber และ National Robotics Engineering Center (NREC) ซึ่งเป็นศูนย์หนึ่งของ Car-negie Mellon University ทำข้อตกลงกันในลักษณะของความร่วมมือระหว่างบริษัทเอกชนที่จะให้เงินทุน กับ ทางมหาวิทยาลัยที่จะใช้ความรู้มาช่วยประดิษฐ์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาที่ทาง Uber ต้องการให้ ซึ่งความร่วมมือลักษณะนี้ก็ถือเป็นเรื่องปกตินะครับโดยเฉพาะในต่างประเทศ ในช่วงเริ่มแรกนั้นทั้งสองฝ่ายก็คุยกันดี ผมเองยังได้อ่านบทสัมภาษณ์ของท่านคณบดี School of Computer Science ของ Car-negie Mellon University ที่ให้กับสื่อมวลชนเมื่อช่วงต้นปีว่า ทางมหาวิทยาลัยยินดีมากกับการร่วมมือกันในครั้งนี้ แต่คุยกันไปกันมา ไม่รู้แน่ว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แต่ทาง Uber เปลี่ยนใจจะไม่สร้างเทคโนโลยีนี้ในลักษณะของความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยแล้ว แต่กลับไปว่าจ้างบุคลากรระดับหัวกะทิ ทั้งอาจารย์และนักวิจัยของ Carnegie Mellon University รวมกว่า 50 คนให้ลาออกจากมหาวิทยาลัยและย้ายมาทำงานที่ศูนย์วิจัยของ Uber แบบเต็มเวลา ซึ่งศูนย์วิจัยชั่วคราวของ Uber ก็ไม่ได้อยู่ไหนไกลครับ ถ้าดูแผนที่จะเห็นว่าห่างจาก Carnegie Mellon University มาไม่กี่ช่วงถนน ส่วนศูนย์วิจัยถาวรซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่นั้นก็ตั้งอยู่ในเมืองเดียวกัน เรียกว่าคนที่ตัดสินใจย้ายงานมาคราวนี้ นอกจากจะได้ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงินสูงกว่าเดิมมากแล้ว ยังแทบไม่ต้องย้ายบ้านหรือปรับเปลี่ยนการเดินทางอะไรเลยอีกด้วย ดราม่าเรื่องนี้จะเป็นอย่างไรต่อ ไว้วันพุธหน้าผมจะเล่าให้ฟังต่อครับ. ผศ.ดร.ชุติสันต์ เกิดวิบูลย์เวช สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) chutisant.ker@nida.ac.th

ที่มา : เดลินิวส์ออนไลน์
8 กรกฎาคม 2558