Page 1 of 1

Data-Driven Economy

Posted: 31 Jul 2015, 10:12
by brid.ladawan
Data-Driven Economy

ในช่วงนี้บ้านเรากำลังพูดถึงดิจิตอล อิโคโนมี (DigitalEconomy) ซึ่งเป็นคำที่บัญญัติกันมา 20 ปีแล้วโดยแนวคิดหลักคือการที่ธุรกิจใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสาร รวมไปถึงอินเทอร์เน็ตในการทำธุรกิจ ซึ่งในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ดิจิตอล อิโคโนมี ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อภาพรวมของเศรษฐกิจอย่างมหาศาล บางอุตสาหกรรมถึงขั้นเกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่กันเลยทีเดียวอย่างเช่น Amazon ได้ ทำให้ยักษ์ใหญ่ของวงการหนังสืออย่าง Borders ถึงกับต้องปิดตัวลงหรือ iTunesและ iPod ของ Apple ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมดนตรี นี่ยังไม่รวมถึงอีกหลาย ๆ อุตสาหกรรมที่เกิดการปรับเปลี่ยนอย่างมากมาย สิ่งที่ตามมาของการเกิดดิจิตอล อิโคโน มี ก็คือการเกิดการตั้งบริษัทขนาดเล็กที่ใช้เทคโน โลยีเป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจ หรือที่เราเรียกกันว่า TechStartup ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญใน การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกามาหลายปี ซึ่ง TechStartup จะมีการใช้นวัตกรรมผนวกกับรูปแบบธุรกิจที่สามารถขยายตัวได้ดี เช่น อินเทอร์เน็ต และโทรศัพท์มือถือเป็นองค์ประกอบสำคัญตัวอย่างที่ดัง ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่เป็นปัจจัยที่ 6 ของคนไทยต่อจากมือถือหรืออูเบอร์ (Uber) ที่กำลัง เป็นข่าวฮือฮากันตอนนี้ TechStartup หลายรายมีรูปแบบธุรกิจที่แตกต่างจากการทำธุรกิจในอดีตค่อนข้างมากเพราะส่วนใหญ่จะมีลักษณะเปิดกว้างในการทำงานร่วมกับคู่ค้าต่างจากการทำธุรกิจแบบผูกขาดในอดีตหรือเป็นแบบให้ใช้ฟรี ๆ ไม่คิดเงินจากผู้บริโภคเพื่อขยายฐานผู้ใช้งานซึ่งทำให้เกิดข้อสงสัยว่าแล้วจะไปหารายได้มาจากที่ไหนแต่สิ่งที่สำคัญของรูปแบบธุรกิจนี้คือ ข้อมูลครับ เพราะยิ่งมีผู้ใช้งานเยอะหรือมีคู่ค้าเยอะบริษัทเหล่านี้ก็จะมีข้อมูลจำนวนมากซึ่งข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำไปวิเคราะห์จะบอกอะไรได้หลายอย่างเช่นเราเคยสังเกตมั้ยครับว่าเฟซบุ๊ก มักจะเอาข้อความจากคนที่เราชอบไปตามอ่านหรือชอบในสิ่งที่ใกล้เคียงกับเรามานำเสนอให้เราอ่านสาเหตุก็เพราะ เฟซบุ๊ก เก็บข้อมูลการที่เราไปอ่านไปคอมเมนต์ ไปไลค์เพื่อมาพิจารณาความสัมพันธ์หรือความชอบของผู้ใช้งานหรืออย่าง อูเบอร์เองก็มีการคิดราคาที่แตกต่างออกไปตามสภาพการจราจรและปริมาณความต้องการของผู้ใช้ในบริเวณพื้นที่และช่วงเวลานั้น ๆ จะเห็นได้ว่าการที่เรานำข้อมูลที่รวบรวมจากผู้ใช้งานจำนวนมากมาวิเคราะห์อย่างละเอียด โดยอาศัยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า (Big Data) จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยสามารถนำมาใช้ในการระบุกลุ่มของผู้บริโภคเพื่อให้เราเสนอสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการมากยิ่งขึ้น หรือนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในสังคม ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามารถในการแข่งขันที่สูงมากอย่างเช่นกูเกิล สามารถนำข้อมูลการค้นหาคำของคนอเมริกันมาทำนายพื้นที่และช่วงเวลาที่จะเกิดการระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือเมื่อ 2-3 เดือนก่อนประธานบริหารของ JPMorgan Institute ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของประธานาธิบดีโอบามาของสหรัฐได้ประกาศ ว่าจะใช้ข้อมูลลูกค้าของธนาคาร JPMorgan ที่มีอยู่มากกว่า 30 ล้านรายเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์เพื่อทำนายทิศทางเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยความสำคัญเหล่านี้เองทำให้เมื่อกลางปีที่แล้ว สหภาพยุโรปได้มีการบรรจุ Data-Driven Economy เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ขับ เคลื่อนทางเศรษฐกิจที่สำคัญ หรือทางรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้กับภาคเอกชนจำนวนแสนกว่าชุดข้อมูล และมีการแต่งตั้งหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ข้อมูลของรัฐบาลคนแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สมรภูมิการแข่งขันทางเศรษฐกิจถัดไปคงจะหนีไม่พ้นการแข่งขันด้วยข้อมูลหรือที่เรียกกันว่า Data-DrivenEconomy ซึ่งในสมรภูมินี้ขนาดขององค์กรอาจจะไม่ใช่ความได้เปรียบที่สำคัญอีกต่อไป แต่จะกลายเป็นความสามารถในการใช้ข้อมูลที่จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสามารถในการแข่งขันเราคงต้องมาถามกันเองว่า เราพร้อมที่ขยับเข้าสู่สมรภูมินี้แล้วหรือยัง. ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ หนูไพโรจน์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย natawut.n@chula.ac.th

ที่มา : http://www.dailynews.co.th
31 กรกฎาคา 2558