มูลค่าซอฟต์แวร์ไทยโตรับเศรษฐกิจดิจิตอล
Posted: 06 Aug 2015, 15:29
มูลค่าซอฟต์แวร์ไทยโตรับเศรษฐกิจดิจิตอล
„มูลค่าซอฟต์แวร์ไทยโตรับเศรษฐกิจดิจิตอล การสำรวจมูลค่าตลาดประจำปีนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิตอล ตามนโยบายของรัฐ การสำรวจมูลค่าตลาดประจำปีนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิตอล ตามนโยบายของรัฐ พลเอกโสภณ เวคะวากยานนท์ กรรม การผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า ซิป้าร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทย (ทีดีอาร์ไอ) สำรวจตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ เพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจและนโยบาย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทย 2557 ว่า ได้เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2556 โดยพบว่ามีมูลค่าการผลิตเฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยรวม 54,980 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 15,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 และมูลค่าการผลิตบริการซอฟต์แวร์ 39,940 ล้านบาท ทั้งนี้ พบว่าภาคการเงินเป็นสาขาที่มีการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์สูงที่สุด ขณะที่ การส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์มีมูลค่าประมาณ 4,572 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 939 ล้านบาท และการส่งออกบริการซอฟต์แวร์ 3,633 ล้านบาท จากการสำรวจยังพบแนวโน้มที่น่าสนใจคือ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จ รูปของไทยมีมูลค่า การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เช่น ซอฟต์ แวร์ด้านการบริหาร จัดการโรงแรมและรีสอร์ท ซอฟต์แวร์ด้านระบบบริหารจัดการการค้าปลีก และซอฟต์แวร์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น เนื่องจากผู้ประกอบการไทยจำนวนมากยังเห็นโอกาสของตลาดในต่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยเฉพาะตลาดเออีซี แม้ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังต่างประเทศแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การสำรวจดังกล่าวยังพบว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้งานผ่านเว็บ (SaaS) นั้นเติบโตมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม ในการใช้งานคลาวด์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนของตลาดซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวพบว่ามีมูลค่าการผลิตภายในประเทศเท่ากับ 6,165 ล้าน บาท ผู้ประกอบการส่วนมากยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ เนื่องจากการขยายตัวของ Internet of Things (IoT) และ Wearable devices แม้ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ คาดการณ์ถึงปี 2558 ว่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยจะมีมูลค่าการผลิตภายในประเทศประมาณ 61,096 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประมาณ 15,973 ล้านบาท และมูลค่าการผลิตบริการซอฟต์แวร์ประมาณ 45,113 ล้านบาท และในปี 2559 คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับปี 2558 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิตอล ทีดีอาร์ไอ ยังได้ระบุอีกว่า มูลค่าตลาดของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจชะลอตัวลงมาก เนื่องจากความเข้มงวดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับงาน จนถึงการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ ทำให้การตรวจรับงานและการจัดซื้อซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ตามโครงการใหม่ต่าง ๆ ต้องล่าช้าออกไปจนทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันออกไปทำตลาดอื่น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิตอลจากนี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เติบโตไปได้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาว ต้องสร้างทรัพย์สินทางปัญญาจากการผลิตซอฟต์ แวร์คุณภาพสูงที่ตอบโจทย์เฉพาะสาขาธุรกิจ และภาครัฐต้องเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม การสำรวจมูลค่าตลาดมีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและประเทศชาติได้.“
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/it/339643
6 สิงหาคม 2558
„มูลค่าซอฟต์แวร์ไทยโตรับเศรษฐกิจดิจิตอล การสำรวจมูลค่าตลาดประจำปีนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิตอล ตามนโยบายของรัฐ การสำรวจมูลค่าตลาดประจำปีนั้น ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นการติดตามความก้าวหน้า และการเปลี่ยนแปลงของภาคอุตสาหกรรม พร้อมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี และเศรษฐกิจดิจิตอล ตามนโยบายของรัฐ พลเอกโสภณ เวคะวากยานนท์ กรรม การผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ซิป้า กล่าวว่า ซิป้าร่วมกับ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ ไทย (ทีดีอาร์ไอ) สำรวจตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ เพื่อให้ภาคเอกชนและภาครัฐสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนธุรกิจและนโยบาย ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เปิดเผยถึงภาพรวมของตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทย 2557 ว่า ได้เติบโตเพิ่มขึ้นจากปี 2556 โดยพบว่ามีมูลค่าการผลิตเฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยรวม 54,980 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 15,031 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 และมูลค่าการผลิตบริการซอฟต์แวร์ 39,940 ล้านบาท ทั้งนี้ พบว่าภาคการเงินเป็นสาขาที่มีการใช้จ่ายด้านซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์สูงที่สุด ขณะที่ การส่งออกซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์มีมูลค่าประมาณ 4,572 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการส่งออกซอฟต์แวร์สำเร็จรูป 939 ล้านบาท และการส่งออกบริการซอฟต์แวร์ 3,633 ล้านบาท จากการสำรวจยังพบแนวโน้มที่น่าสนใจคือ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จ รูปของไทยมีมูลค่า การส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เช่น ซอฟต์ แวร์ด้านการบริหาร จัดการโรงแรมและรีสอร์ท ซอฟต์แวร์ด้านระบบบริหารจัดการการค้าปลีก และซอฟต์แวร์ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น เนื่องจากผู้ประกอบการไทยจำนวนมากยังเห็นโอกาสของตลาดในต่างประเทศที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยเฉพาะตลาดเออีซี แม้ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่มีการย้ายฐานการผลิตบางส่วนไปยังต่างประเทศแล้วก็ตาม นอกจากนี้ การสำรวจดังกล่าวยังพบว่าซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่ใช้งานผ่านเว็บ (SaaS) นั้นเติบโตมาก ซึ่งแสดงให้เห็นถึงแนวโน้ม ในการใช้งานคลาวด์เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่วนของตลาดซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัวพบว่ามีมูลค่าการผลิตภายในประเทศเท่ากับ 6,165 ล้าน บาท ผู้ประกอบการส่วนมากยังสามารถรักษาอัตราการเติบโตไว้ได้ เนื่องจากการขยายตัวของ Internet of Things (IoT) และ Wearable devices แม้ว่าผู้ประกอบการรายใหญ่จะได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ ทั้งนี้ คาดการณ์ถึงปี 2558 ว่าตลาดซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ของไทยจะมีมูลค่าการผลิตภายในประเทศประมาณ 61,096 ล้านบาท จำแนกเป็นมูลค่าการผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประมาณ 15,973 ล้านบาท และมูลค่าการผลิตบริการซอฟต์แวร์ประมาณ 45,113 ล้านบาท และในปี 2559 คาดว่าจะเติบโตใกล้เคียงกับปี 2558 ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิตอล ทีดีอาร์ไอ ยังได้ระบุอีกว่า มูลค่าตลาดของหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจชะลอตัวลงมาก เนื่องจากความเข้มงวดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับงาน จนถึงการปรับเปลี่ยนคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงของรัฐวิสาหกิจ ทำให้การตรวจรับงานและการจัดซื้อซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ตามโครงการใหม่ต่าง ๆ ต้องล่าช้าออกไปจนทำให้ผู้ประกอบการรายใหญ่หลายรายหันออกไปทำตลาดอื่น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิตอลจากนี้จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เติบโตไปได้ ขณะเดียวกันผู้ประกอบการที่จะอยู่รอดและเติบโตได้ในระยะยาว ต้องสร้างทรัพย์สินทางปัญญาจากการผลิตซอฟต์ แวร์คุณภาพสูงที่ตอบโจทย์เฉพาะสาขาธุรกิจ และภาครัฐต้องเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของอุตสาหกรรม การสำรวจมูลค่าตลาดมีส่วนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและประเทศชาติได้.“
ที่มา : http://www.dailynews.co.th/it/339643
6 สิงหาคม 2558