วิกฤติอุตสาหกรรมการบินไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น เป็นชาติแรกที่ประกาศจำกัดสิทธิทางการบินของไทย โดยองค์การกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (เจซีเอบี) ได้ส่งหนังสือถึงกรมการบินพลเรือนไทย
วิกฤติอุตสาหกรรมการบินไทย
โดมิโนล้ม!สะเทือนทั้งประเทศ
กลายเป็นปฏิกิริยาโดมิโนล้มระเนนระนาดในอุตสาหกรรมการบินประเทศไทย โดยขณะนี้ไทยกำลังถูกหลาย ๆ ชาติจำกัดสิทธิการบิน โดยเฉพาะการห้ามเครื่องบินสายการบินแบบเช่าเหมาลำ หรือชาร์เตอร์ไฟลต์จากไทยบินเข้าประเทศ หลังจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ไอซีเอโอ) ตรวจพบว่ากรมการบินพลเรือนไทย ขาดมาตรฐานที่มีความสำคัญต่อความปลอดภัยในการบิน
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น เป็นชาติแรกที่ประกาศจำกัดสิทธิทางการบินของไทย โดยองค์การกรมการบินพลเรือนญี่ปุ่น (เจซีเอบี) ได้ส่งหนังสือถึงกรมการบินพลเรือนไทย เพื่อแจ้งไม่อนุญาตให้สายการบินประจำของไทยที่บินไปญี่ปุ่น เปลี่ยนเส้นทาง เปลี่ยนขนาดของเครื่องบิน เปลี่ยนปลายทางลงของเครื่องบิน แม้ชาวไทยต้องการไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นก็ตาม ที่สำคัญยังระงับไม่ให้สายการบินแบบเช่าเหมาลำของไทยอีก 5 สายการบินคือ สายการบินไทย, เอเชียแอตแลนติก, เจตเอเชีย, ไทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ และ นกสกู๊ต บินเข้าญี่ปุ่นไม่มีกำหนด ถัดจากนั้นไม่นานเกาหลีใต้ ก็มีคำสั่งมายังสายการบินของไทยโดยตรง ให้ระงับเที่ยวบินเช่าเหมาลำของไทยที่จะบินไปเกาหลีใต้อีก 2 สายการบิน ได้แก่ เอเชียแอตแลนติก และนกสกู๊ต รวมถึงจีนก็ระงับไม่ให้ 3 สายการบินของไทยบินเข้าจีน ได้แก่ ไทย แอร์เอเชียเอ็กซ์, ไทยโอเรียนท์ และสกายวิว
กรมการบินพลเรือนของไทย ประเมินว่าผลกระทบเบื้องต้นจากการระงับสิทธิการบินรอบแรกของ 3 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน จะทำให้มีเที่ยวบินของไทยที่ได้รับผลกระทบมากถึง 300-400 เที่ยวบิน และมีผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด 150,000 คน โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นที่มีผลกระทบมากสุด 183 เที่ยวบิน รองลงมาเป็นเกาหลีใต้ และจีน ขณะเดียวกันภาคธุรกิจต่อเนื่องอย่างการท่องเที่ยว ก็จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย โดยนายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) คาดการณ์ว่า ปกติเฉพาะช่วงวันหยุดสงกรานต์นี้มีนักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปญี่ปุ่นถึง 40,000-50,000 ราย ผ่านทั้งสายการบินที่เป็นสายการบินปกติ และสายการบินเช่าเหมาลำ ดังนั้นเมื่อมีบางเที่ยวบินถูกสั่งห้ามก็จะกระทบแน่นอน โดยเฉพาะเมื่อปีที่ผ่านมา มีคนไทยไปญี่ปุ่นถึง 5 แสนคน ขณะเดียวกันชาวญี่ปุ่นซึ่งเป็นตลาดนักท่องเที่ยวคุณภาพของไทย ก็มีสิทธิเดินทางมาไทยน้อยลงด้วย
แต่สิ่งที่น่าติดตามหลังจากนี้คือ ปฏิกิริยาโดมิโนที่กำลังเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร เพราะเมื่อโดมิิโนตัวแรกอย่างญี่ปุ่นล้มลง ลามไปเกาหลีใต้ และจีนแล้ว หลังจากนี้ประเทศอื่นเช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และเยอรมนี จะออกมาตรการเข้มงวดสายการบินของไทยอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปหากมีคำสั่งเพิ่มระงับจริงจะวุ่นวายอย่างมาก เพราะจะครอบคลุมไปทั้งกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปหลายสิบชาติทันที
สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจึงถือเป็นการบ้านหนักของรัฐบาลลายพราง ของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ต้องเร่งคลี่คลายอย่างเร่งด่วน เพราะนอกจากกระทบโดยตรงต่ออุตสาห กรรมการบินและท่องเที่ยวแล้ว อีกนัยหนึ่งยังเป็นบททดสอบพลังของรัฐบาลชุดนี้ด้วยว่า มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาระดับนานาชาติกับประเทศอื่น ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน
ประเด็นที่รัฐบาลไทยจำเป็นต้องเร่งแก้ไขให้ได้มาตรฐานไอซีเอโอ ประกอบด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ ปัญหาโครงสร้างของกรมการบินพลเรือน ซึ่งมีการรวมงานกำกับกิจการและการบริหารจัดการไว้หน่วยงานเดียวกัน อาจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ต่อมาปัญหาด้านการกฎหมายและระเบียบที่ยังมีความล้าหลังในหลายเรื่อง เช่น พ.ร.บ.เดินอากาศของไทย ยังเป็น พ.ศ. 2497 ซึ่งเริ่มใช้เมื่อ 61 ปีที่แล้ว จึงมีบางเรื่องไม่ทันกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป และสุดท้ายปัญหาด้านบุคลากรของกรมการบินพลเรือนที่น้อยเกินไป โดยเฉพาะเมื่อเทียบจำนวนเที่ยวบินเมื่อปี 48 มี 300,000 เที่ยวบินต่อปี ปัจจุบันเพิ่มเป็น 600,000 เที่ยวบินต่อปี แต่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบเพียง 12 คนเท่านั้น
สามประเด็นร้อนนี้ แม้กระทรวงคมนาคม โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พยายามแก้ไขมาระยะหนึ่งแต่กลับไม่ได้ผล จนกระทั่งออกอาการบ่นผิดหวังผ่านสื่อกันเลย เพราะหากนับตั้งแต่ไอซีเอโอเริ่มเข้ามาตรวจสอบกรมการบินพลเรือนของไทยตั้งแต่ เมื่อวันที่ 19-30 ม.ค. 58 ที่ผ่านมา และแจ้งข้อบกพร่องมาเมื่อเดือน ก.พ. นั้น แม้กรมการบินพลเรือนจะพยายามเสนอแผนแก้ไขให้ไอซีเอโอดู แต่พบว่าแผนยังไม่อยู่ในระดับน่าพอใจ จนทำให้ไทยต้องถูกประกาศความบกพร่องเผยแพร่แก่สาธารณะผ่านทางเว็บไซต์ของไอซีเอโอ และถูกบางประเทศเริ่มจำกัดสิทธิการบิน
เมื่อกระทรวงคมนาคมแก้ไขไม่สำเร็จ เผือกร้อนถูกส่งต่อไปถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยได้สั่งให้ยกระดับเป็นปัญหาวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขโดยด่วน พร้อมกับประกาศใช้อำนาจตามมาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 เพื่อดูแลและผลักดันการแก้ไขกฎหมายและออกกฎระเบียบต่าง ๆ ให้รวดเร็วขึ้น ประกอบด้วย การจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเร่งรัดแก้ไขกฎหมาย การว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างชาติเข้ามา หรือการฝึกอบรมบุคลากรของไทยที่จะเข้ามารองรับงานต่าง ๆ และการเร่งบรรจุเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบเรื่องการออกใบอนุญาตจาก 12 คน เพิ่มเป็น 30 คน โดยตั้งเป้าหมายแก้ไขให้สำเร็จ 2-8 เดือน ต่างจากเดิมหากทำตามระบบราชการต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี
ขณะเดียวกัน ตัวนายกฯ ประยุทธ์ ยังได้พบนายชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น เพื่อขอให้ช่วยแก้ปัญหานี้โดยตรง แต่ก็ต้องติดตามกันต่อว่าจะแก้ไขได้เร็วมากน้อยแค่ไหน แม้ล่าสุดทางองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ญี่ปุ่น) จะแจ้งข่าวดีว่า พร้อมทบทวนผ่อนปรนให้ไทยกลับบินเข้าญี่ปุ่นได้ในเร็ว ๆ นี้ แต่อย่างไรแล้วจำเป็นต้องรอการยืนยันอย่างเป็นทางการอยู่ เพราะไทย-ญี่ปุ่น แม้จะมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน แต่เทียบกับเรื่องความปลอดภัยคงแทนที่กันไม่ได้
ดังนั้นหนทางแก้ไขปัญหาไทยจึงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขจากตัวเองให้ได้โดยเร็ว เริ่มจากปัญหาระยะสั้นเพื่อช่วยให้ผู้โดยสารที่จองเดินทางไว้แต่ไม่มีเที่ยวบินเดินทางได้ ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงคมนาคมได้ช่วยประสานสายการบินที่เป็นเที่ยวบินประจำ และเที่ยวบินจากต่างประเทศในการช่วยรับส่งผู้โดยสารที่จองไปแล้วเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ควบคู่ไปกับปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องภายในให้ผ่านตามมาตรฐานไอซีเอโอ ตลอดจนการเดินสายชี้แจงกับนานาประเทศทั้งญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตามด้วยจีน ออสเตรเลีย และเยอรมนี พร้อมกับให้กระทรวงการต่างประเทศ ช่วยชี้แจงความคืบหน้าการแก้ปัญหาผ่านสถานทูตไทยเป็นระยะ ๆ แสดงถึงความจริงใจในการแก้ปัญหา เพื่อเปิดให้สายการบินของไทยกลับมาบินได้เหมือนเดิม
ยิ่งกว่านั้นต้องช่วยภาวนาไม่ให้ ไทยถูกประเทศอื่น ๆ สั่งระงับการบินเข้าประเทศเพิ่มอีก เพราะท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลก และไทยกำลังง่อนแง่นแบบนี้ หากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่เป็นความหวังต้องมอดม้วยไปด้วย คงแย่ และที่สำคัญก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของระบบราชการไทยที่ซ่อนไว้ใต้พรมมานาน จากการขาดการเอาใจใส่จากรัฐบาลหลายยุคหลายสมัย จนเรื่องแดงออกมากลายเป็นเคราะห์ซ้ำกรรมซัดชะตากรรมประเทศไทยในวันนี้.
ทีมเศรษฐกิจ
ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 3 เมษายน 2558
- Board index การใช้งานบอร์ด และข่าวสาร ERP ไทย / PlanetOne ERP / งานบัญชี / Linux แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
วิกฤติอุตสาหกรรมการบินไทย
-
- Posts: 7045
- Joined: 29 Mar 2013, 13:36
Return to “แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ”
Jump to
- การใช้งานบอร์ด และข่าวสาร ERP ไทย / PlanetOne ERP / งานบัญชี / Linux
- ↳ กฏการใช้บอร์ด
- ↳ แจ้งข่าว ไทย ERP และข่าวอื่นๆที่น่าสนใจ
- คำถาม คำตอบเกี่ยวกับระบบ ไทย ERP: AdvanceBusinessSystem - PlanetOne และ ERP ระบบบัญชี
- ↳ ข้อมูลหลัก (Master Data)
- ↳ ระบบสินค้าคงคลัง (Inventory)
- ↳ ระบบบัญชีเจ้าหนี้ (Account Payable)
- ↳ ระบบบัญชีลูกหนี้ (Account Receivable)
- ↳ ระบบขาย (Sales System)
- ↳ ระบบจัดซื้อ (Purchasing System)
- ↳ ระบบบัญชีทั่วไป (General Ledger and Financial Statement)
- ↳ ระบบผลิตและวางแผนการผลิต (Manufacturing / Shop Floor Control / Production Planning)
- ↳ ระบบบริหารงานบุคคล (Human Resource Management / HRM)
- ↳ ระบบบริหารสินทรัพย์ (Assets Management)
- ↳ ระบบลูกค้าสัมพันธ์ และบริการ (CRM / Service Center / Call Center)
- ↳ ระบบต้นทุนสินค้า (Product / Job Costing)
- ↳ หัวข้อทั่วไป
- การติดตั้ง ใช้งาน Linux, OSX และ OpenSource Softwares
- ↳ การใช้งาน PostgreSQL
- ↳ การใช้งาน Java และ JVM
- ↳ การใช้งาน Dart
- ↳ การใช้งาน Linux
- ↳ การใช้งาน Mac และ OSX
- ↳ การใช้งาน Windows
- AdvanceBusinessSystem Developer Forum
- ↳ Java Programming Techinics
- ↳ ABS Developer Exchange
- ↳ การ admin ระบบ