Page 1 of 1

ชุมพร แล้งหนักในรอบ 30 ปี

Posted: 20 Mar 2014, 17:26
by brid.ladawan
ชุมพร แล้งหนักในรอบ 30 ปี

ชุมพร แล้งหนักในรอบ 30 ปี สวนกาแฟ สวนทุเรียน เสียหายหลายพันไร่

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. ผู้สื่อข่าว รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่ ม.18 ต.รับร่อ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร ว่ามีสวนกาแฟและสวนผลไม้ที่ได้ความเสียหายจากสภาวะความแห้งแล้งอย่างหนักจึงเดินทางไปยัง อบต.รับร่อ เพื่อขอทราบข้อมูลเจ้าหน้าที่ อบต.รับร่อได้นำหนังสือขอรับความช่วยเหลือจาก อบต.ของชาวบ้านร่วมพันรายมาให้ผู้สื่อข่าวดู ซึ่งจากการลงสำรวจเบื้องต้นพบว่ามีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยแล้ง12 หมู่บ้าน กินพื้นที่ไม่ต่ำกว่า5,000 ไร่ และพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุดคือหมู่ที่ 18 ซึ่ง ได้รับความเสียหายมากถึง 2,000 ไร่ ซึ่งควาวันพฤหัสบดี 20 มีนาคม 2557 เวลา 15:37 น.มเสียหายที่พบส่วนใหญ่คือสวนกาแฟและสวนทุเรียนอยู่ในสภาพยืนต้นตายเนื่องจากขาดน้ำ

เจ้าหน้าที่ อบต.รับร่อ กล่าวว่า ตำบลรับร่อเป็นตำบลใหญ่ที่สุด ใน อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร มีพื้นที่ทางการเกษตรมากถึง200,000 ไร่ เกษตรกร60 % ทำสวนกาแฟ ส่วนที่เหลือเป็นสวนผลไม้ ยางพาราและปาล์มน้ำมัน อีกทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ไม่มีเอกสารสิทธิ์เพราะอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์และป่าสงวน แต่ชาวบ้านก็อาศัยอยู่ในพื้นที่มามากกว่า 30-40ปีส่งผลให้การช่วยเหลือเป็นไปด้วยความลำบากเพราะติดขัดทางข้อกฏหมาย ทำให้อบต.รับร่อต้องประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะป่าไม้จังหวัดชุมพรทำให้การช่วยเหลือเกษตรกรล่าช้าไม่ทันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อีกทั้งผลกระทบจากภัยแล้งครั้งนี้มีความรุนแรงมาก ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในตำบลรับร่อมา 30 กว่าปีก็เพิ่งพบเห็นเป็นครั้งแรกที่ความแล้งรุนแรงหนัก ถึงขั้นต้นทุเรียนและกาแฟ ยืนต้นตายจำนวนหลายพันไร่

นายทองใส แหนบทอง อายุ 45 ปี ผู้ใหญ่บ้าน ม.18 ต.รับร่อ กล่าวว่าเกษตรกรชาวสวนกาแฟและสวนผลไม้ในพื้นที่ ได้รับผลกระทบจากสภาวะภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. 2556 และส่งกระทบอย่างรุนแรงในเดือนมี.ค. 2557 ทำให้ต้นกาแฟและต้นทุเรียนในพื้นที่ยืนต้นตายมากถึง2,000 ไร่ และหากว่าฝนยังไม่ตกลงมาจะมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเพิ่มมากกว่านี้อย่างแน่นอน เนื่องจากพื้นที่ ม.18 ส่วนใหญ่เป็นเนินเขาไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ทำให้เกษตรกรไม่มีน้ำมารดต้นกาแฟส่งผลให้ความเสียหายทวีความรุนแรงมากกว่าพื้นที่หมู่บ้านอื่นๆ และสิ่งที่เกษตรกรต้องการในขณะนี้คือต้องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการทำฝนเทียมและแหล่งเงินทุนอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูสภาพสวนกาแฟและสวนผลไม้ต่อไป

ที่มา เดลินิวส์
วันที่ 20 มีนาคม 2557